Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9180
Title: | แนวทางการควบคุมภายในทางการเงินและบัญชีของเทศบาลอำเภอสามพราม จังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | Guidelines for financial and accounting internal control of Municipality, Samphran District, Nakhonpathom Province |
Authors: | สุนา สิทธิเลิศประสิทธิ์ พรวิภา คูณมา, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลอำเภอสามพราม--การเงิน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษามาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 (2) เพื่อศึกษาแนวทางการควบคุมภายในทางการเงินและบัญชีของเทศบาล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปรียบเทียบกับมาตรฐาน การควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 และ (3) เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เกิดความแตกต่างจากมาตรฐานการควบคุมภายในของ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 เพื่อหาแนวทาง การปรับปรุงแก้ไข กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีประสบการณ์เฉพาะในเรื่องงานด้านการเงินและบัญชีของเทศบาล อำเภอ สามพรานจังหวัดนครปฐม ทั้งหมด จำนวน 5 แห่ง แห่งละ4 คนรวม 20 คนแบ่งออกเป็น (1) เทศบาลเมืองสามพราน (2) เทศบาลเมืองไร่ขิง (3) เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม (4) เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ และ (5) เทศบาลตำบลบางกระทึก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์สอบถามการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชี เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์ประกอบการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีตามมาตรฐานการ ควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายในพ.ศ. 2544 ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของกลุ่มผู้มีประสบการณ์เฉพาะฯ คิดเป็นร้อยละ 87.08 เห็นว่ากระบวนการและ/หรือวิธีปฏิบัติงานที่หน่วยงานถือปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 นั้น เป็นปัจจัยซึ่ง ก่อให้เกิดแนวทางการควบคุมภายในทางการเงินและบัญชีที่มีประสิทธิภาพ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเงินสดและเงินฝากธนาคาร ด้านทรัพย์สิน และด้านรายงานการเงินซึ่งแนวทางการควบคุมภายในที่จะช่วยผลักดันให้เกิด ระบบการควบคุมภายในที่ดีนั้น มี 5 องค์ประกอบ คือ สภาพแวดล้อมการควบคุม การประเมินความเสียง กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการสีอสาร และการติดตามประเมินผล ส่วนความคิดเห็นอีกร้อยละ 12.92 มีความคิดเห็นว่าบางกระบวนการและ/หรือวิธีปฏิบัติงานนั้น หน่วยงานไม,ได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายในพ.ศ. 2544 และ(2) สาเหตุเกิดจากผู้บริหารและพนักงาน/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในกฎหมายระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน อีกทั้งการให้ความรู้ และคำแนะนำของ ผู้เกี่ยวข้องไม,เป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงสร้างความสับสนในการปฏิบัติงานแก่เทศบาล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9180 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_125885.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License