กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9193
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาการรับรู้ของร้านค้าปลีกที่มีต่อการบริการของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบกอนในเขตจังหวัดนครปฐม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study on retail store's perceptions towards baygon sale representative in Nakhonpathom Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร ภาณุ แซ่ก่ำ, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี การค้าปลีก ตัวแทนทางการค้า การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานของร้านค้าปลีกในเขตจังหวัดนครปฐม (2) ระดับการรับรู้และการคาดหวังด้านคุณภาพและบริการของร้านค้าปลีกที่มีต่อการบริการของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบกอน ในเขตจังหวัดนครปฐม (3) เปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังของร้านค้าปลีกที่มีต่อการบริการของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไบกอน ในเขตจังหวัดนครปฐม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจ ประชากรคือร้านล้าปลีกในเขตชังหวัดนครปฐม ขนาดตัวอย่างโดยใช้วิธียามาเน่ไต้จำนวน 300 ร้านล้า และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40ปี ส่วนใหญ่เป็นร้านหน่วยรถ มียอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์ฆ่าแมลงไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน (2) โดยรวมกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญการรับรู้ด้านการตอบสนองของลูกค้าสูงที่สุด รองลงมาด้านการสร้างบริการให้เป็นที่รู้จัก ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า และ ต้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญการคาดหวังอยู่ในระดับสูง ทุกด้าน (3) ระดับการคาดหวังสูงกว่าระดับการรับรู้ทั้งหมดในทุกด้าน โดยลูได้จากค่าทางสถิติแบบที เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะความต้องการหรือความคาดหวังของร้านค้าจะมีความคาดหวังสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีการรับรู้ที่สูงขึ้น ดังนั้นการบริการที่บริการลูกค้าแล้วใกล้เคียงกับความคาดหวังมากที่สุดก็ถือว่า การบริการนั้นประสบความสำเร็จแต่ถ้าทำไต้เกินความคาดหวังแล้วก็จะยิ่งดียิ่งขึ้นแต่หลังจากนั้น ค่าความคาดหวังนั้นก็จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากไต้รับรู้ถึงสิ่งที่เกินความคาดหวัง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9193 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_128323.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License