กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9204
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of lessons with the use of supplementary reality technology in the social studies, religion and culture learning area on the topic of sufficiency economy for mathayom suksa I students of Satri Ang Thong School in Ang Thong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตชนันต์ ทับทอง, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความจริงเสมือนเพื่อการศึกษา
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่โรงเรียนสตรีอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) หนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสื่อเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.83/82.42 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือเรียนที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9204
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
166498.pdf25.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons