กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9228
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความรับผิดชอบทางอาญา : กรณีรับตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminal liability study : a case of surrogacy using the medically assisted reproductive technology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต
ปริญาพร พัฒนาวงศ์เสรีกุล, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิดทางอาญา
มารดาที่รับตั้งครรภ์แทน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องในการกำหนดความรับผิดทางอาญาและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (2) ศึกษา วิเคราะห์ถึงการกำหนดโทษของความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการรับตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 (3) ศึกษา วิเคราะห์ความแตกต่าง ข้อดีและข้อเสียของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ระหว่างประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการรับตั้งครรภ์แทนตามกฎหมายคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยให้เหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากตำรา บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ระเบียบ คำสั่ง คำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ และนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดที่เกี่ยวข้องในการกำหนดความรับผิดทางอาญาและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ได้แก่ หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักนิติธรรมและหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของสามีและภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย (2) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มีข้อบกพร่องในตัวบทกฎหมายอันอาจนำไปสู่ปัญหาความรับผิดทางอาญาบางประการตามมาภายหลังการบังคับใช้ และเป็นหลักกฎหมายที่มิใช่หลักการที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ทำให้เกิดกรณีการดำเนินการรับจ้างตั้งครรภ์แทนอย่างไม่เปิดเผย (3) จากการศึกษากฎหมายประเทศอังกฤษ และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่า ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในการบำบัดรักษาบุคคลที่ไม่สามารถมีบุตรได้หรือมีบุตรได้ยากกว่าปกติตามธรรมชาติ (4) ข้อเสนอแนะของงานวิจัย คือ การแก้ไขบทบัญญัติ หลักเกณฑ์การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ อนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ขบวนการที่หลบเลี่ยงอยู่นอกเหนือกฎหมายเข้ามาอยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9228
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_164580.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons