Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9244
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปภาวรินทร์ บุญมาก, 2506-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-29T07:32:18Z-
dc.date.available2023-08-29T07:32:18Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9244en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น230 คน โดย การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (I) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ลำปาง จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้รวมต่อเดือน ต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรไม่แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาและประเภทของบุคลากร ต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ส่วนกลยุทธ์ การจัดการที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านค่านิยมร่วมกันของบุคลากร ด้านลักษณะแบบแผน ด้านระบบในการคำเนินงานขององค์การ ด้านกลยุทธ์ขององค์การ ด้านโครงสร้างองค์การตามลำดับ(2)ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานชองบุคลากรและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านค่าใช้จ่ายและด้นทุนการผลิตใน เชิงบวกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่นและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านผลผลิตและผลลัพธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบํติงานในเชิงบวกทุกๆ ด้านที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และสำหรับด้านค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่วนด้าน ผลผลิตและผลลัพธ์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิปัติงานในเชิงบวกทุกๆ ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านกลยุทธ์ขององค์การ ด้านระบบในการดำเนินงานขององค์การ (3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยจัดให้มีการบูรณาการร่วมกันใช้ทรัพยากรในหน่วยงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ควรส่งเสริม ความร่วมมือภายในองค์การและการทำงานเป็นทีมให้มากขี้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา--พนักงานth_TH
dc.titleกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปางth_TH
dc.title.alternativeManagement strategies to enhance the employee's performance of Rajamanangala University of Techonlogy Lanna Lampangen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124185.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons