กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9244
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management strategies to enhance the employee's performance of Rajamanangala University of Techonlogy Lanna Lampang |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ ปภาวรินทร์ บุญมาก, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา--พนักงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 230 คน โดย การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ลำปาง จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้รวมต่อเดือน ต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรไม่แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาและประเภทของบุคลากร ต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลยุทธ์ การจัดการที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านค่านิยมร่วมกันของบุคลากร ด้านลักษณะแบบแผน ด้านระบบในการคำเนินงานขององค์การ ด้านกลยุทธ์ขององค์การ ด้านโครงสร้างองค์การตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานชองบุคลากรและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านค่าใช้จ่ายและด้นทุนการผลิตใน เชิงบวกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่นและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านผลผลิตและผลลัพธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และกลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบํติงานในเชิงบวกทุกๆ ด้านที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และสำหรับด้านค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่วนด้าน ผลผลิตและผลลัพธ์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิปัติงานในเชิงบวกทุกๆ ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านกลยุทธ์ขององค์การ ด้านระบบในการดำเนินงานขององค์การ (3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยจัดให้มีการบูรณาการร่วมกันใช้ทรัพยากรในหน่วยงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ควรส่งเสริม ความร่วมมือภายในองค์การและการทำงานเป็นทีมให้มากขี้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9244 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_124185.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License