Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9265
Title: การเปิดรับข่าว การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจข่าวการเมืองในสื่อสังคม ออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสมุทรปราการและ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
Other Titles: Exposure, utilization and satisfaction of upper secondary school students from Samut Prakan School and Samut Prakan Girl’s School to Political News on Social Media
Authors: หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชิษณุชา เศรษฐธัญกิจ, 2538-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: สื่อสังคมออนไลน์--การใช้ประโยชน์
สื่อสังคมออนไลน์--แง่การเมือง
ความพอใจ
ข่าว
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกบัการเปิดรับข่าวการเมือง 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการใช้ประโยชน์ข่าวการเมือง 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับความพึงพอใจต่อข่าวการเมืองและ 4) หาความสัมพันธ์ระหวางการเปิดรับข่าวการเมือง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจข่าวการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสมุทรปราการและโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาในสายการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ มีการเปิดรับข่าวการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ ช่วงเวลา 21.00 – 24.00 น. เฉลี่ยวันละ 16 -30 นาทีสื่อออนไลน์ที่เปิดรับในระดับมาก ได้แก่ เฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก Free youth โดยเลือกเปิดรับข่าวการเมืองเพื่อใช้เป็นความรู้ทั่วไป และการใช้ประโยชน์ข่าวการเมือง นําไปใช้ในการเรียกร้องความถูกต้องในสังคมส่วนความพึงพอใจข่าวการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ มีแหล่งข้อมูลข่าวการเมืองในเนื้อหาที่ตนเองสนใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพศ สายการเรียน ระดับชั้นที่ศึกษา และสถานศึกษาที่แตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวการเมืองที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.052) เพศ สายการเรียน ระดับชั้นที่ศึกษา สถานศึกษาที่แตกต่างกันมีการใช้ประโยชน์ข่าวเมืองที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เพศ สายการเรียน ระดับชั้นที่ศึกษา สถานศึกษาที่แตกต่างกนมีความ พึงพอใจต่อข่าวการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การเปิดรับข่าวสารการเมืองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจทางการเมืองในระดับน้อยอย่างมีนัยสําคัญที่สถิติ 0.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9265
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168516.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons