Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9282
Title: บทบาทและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Other Titles: Roles and operations of the Bank of Thailand and Bank of Lao People's Democratic Republic
Authors: สุชาดา สถาวรวงศ์
พรชัย ขันธิราช, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารแห่งประเทศไทย--การบริหาร
ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (3) เปรียบเทียบการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร ข้อมูลจากเว็บไซต์เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งเอกสารของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคาร แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่าง ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการจัดโครงสร้างองค์กรในรูปของคณะกรรมการ 5 คณะ เพื่อดูแลสายงานและฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวมีโครงสร้างองค์กรแบ่งเป็น 20 สายงาน ซึ่งอยู่ในรูปของกรม หน่วยงาน และส่วนภูมิภาค ซึ่งแต่ละสายงานมีบทบาทเท่าเทียมกัน (2) ในภาพรวมการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคาร แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไม่แตกต่างกัน โดยมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการเป็นธนาคารกลางของประเทศ การกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมทั้งการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ ในรายละเอียดของการดำเนินงานจะแตกต่างกัน(3) การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศ ไทยและธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีหลักการที่เหมือนกันคือ การรักษา เสถียรภาพในด้านราคา การส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการ พัฒนาเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ และการกระจายรายได้อย่างเป็น ธรรมแต่เนื่องจากสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสองประเทศมีความแตกต่างกัน จึงทำให้การกำหนด นโยบายการเงินและการใช้เครื่องมือนโยบายการเงินมีความแตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9282
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_ 124067.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons