Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบัญญัติ เลิศอาวาส, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-23T06:47:20Z-
dc.date.available2022-08-23T06:47:20Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอของหัวหน้าสถานีอนามัย (2) ลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพของหัวหน้าสถานีอนามัย ประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าสถานีอนามัยในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7 ทุกคน จํานวน 309 คน ได้รับแบบสอบถามคืนคิดเป็นร้อยละ 86.73 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ) การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ สุขภาพระดับอำเภอในระดับปานกลาง (2) หัวหน้าสถานีอนามัยมีความรู้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ อยู่ในระดับสูง มีเจตคติทางบวกต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ และมีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานในสถานีอนามัยเป็นไปในทางบวก (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงานในสถานีอนามัย และระยะเวลาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ ส่วนความรู้ เจตคติต่อการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานในสถานีอนามัย มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอคือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอล่าช้าเกินไป รองลงมาคือการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและ โรงพยาบาลเครือข่ายมีน้อยเกินไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุข--ไทย--การวางแผนth_TH
dc.subjectผู้บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหัวหน้าสถานีอนามัย--ไทยth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7th_TH
dc.title.alternativeFactors related to participation of chiefs of health centers in district strategic planning formulation in Public Health Region 7thth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe health planning strategic is an important process for health developing in the country. There are many factors involved and impacted for developing health planning strategic.The aim of this descriptive research were : 1) to investigate the relate factors of Chief of Health Centers participation in Health Center for health planning strategic in district in Public Health Region 7th. 2) to study personal factors,knowledge,attitude, and behaviors of Chief of Health Centers in Public Health Region 7th. 3) to explore the relationship between personal factors, knowledge, attitude, and behaviors and the participation of Chief of Health Centers in district in Public Health Region 7th to formulate the district strategic planning and 4) The problem and obstacles about strategic planning formulation in district in Public Health Region 7th. Data were collected by using the questionnaires with their reliability coefficient of 0.92. Statistics for data analysis consisted of mean, standard deviation, percentage, Chi Square’s test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The study results were (1) the participation of Chief Officer in Primary Health Center were at a moderate level; (2) Chief of Health Centers’s knowledge about health planning strategic were at a higher level the attitudes and their working behaviors were positive for health planning strategic; (3) the personal characteristics factors such as gender, age, education, poison, working period in Primary Health Center and timing during working in Chief Officer position had no relationship with making the health planning strategic; While, the attitude and their working behaviors were related to making the health planning strategic at statistical significant level of 0.01; and (4) > the problems and obstacles that pointed by the Chief of Health Centers were 1) delayed timing for making the health planning strategic in district level. 2) involved in the process was less support from Province Health Office and network hospitalsen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110143.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons