กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/928
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to participation of chiefs of health centers in district strategic planning formulation in Public Health Region 7th
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
บัญญัติ เลิศอาวาส, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การบริหารสาธารณสุข--ไทย--การวางแผน
ผู้บริหารสาธารณสุข
หัวหน้าสถานีอนามัย--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอของหัวหน้าสถานีอนามัย (2) ลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพของหัวหน้าสถานีอนามัย ประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าสถานีอนามัยในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7 ทุกคน จํานวน 309 คน ได้รับแบบสอบถามคืนคิดเป็นร้อยละ 86.73 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ) การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ สุขภาพระดับอำเภอในระดับปานกลาง (2) หัวหน้าสถานีอนามัยมีความรู้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ อยู่ในระดับสูง มีเจตคติทางบวกต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ และมีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานในสถานีอนามัยเป็นไปในทางบวก (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงานในสถานีอนามัย และระยะเวลาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ ส่วนความรู้ เจตคติต่อการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานในสถานีอนามัย มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอคือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอล่าช้าเกินไป รองลงมาคือการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและ โรงพยาบาลเครือข่ายมีน้อยเกินไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
110143.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons