กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9310
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการลงทุนของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บมจ.ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Invesment behaviors of the members of staffs of Kasikornbank PCL. registered provident fund
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัลลภ ตันติวัฒนเสถียร, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารกสิกรไทย--พนักงาน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การลงทุน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (2) ประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (3) ประสบการณ์การลงทุนของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(4) พฤติกรรมในการเลือกนโยบายการลงทุนของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยด้านภูมิหลังการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บมจ.ธนาคารกสิกรไทย จำนวน 15,000 คนใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และ อัตราร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ ระหว่าง 20-35ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ระหว่าง 20,001-40,000 บาท มีประสบการณ์ การทำงานต่ำกว่า 5 ปี (2) การประเมินดวามรู้ความเข้าใจในการลงทุนทั้งคุณลักษณะและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ลงทุน (3) ประสบการณ์การลงทุนของสมาชิกส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนในรูปแบบการฝากเงินรองลงมาเป็น กองทุนเปิด หุ้นสามัญ พันธบัตรรัฐบาล ตามลำดับ (4) พฤติกรรมในการเลือกนโยบายการลงทุนสมาชิกส่วนใหญ่เลือกนโยบายการลงทุนแบบผสม คือลงทุนในตราสารหนี้ร้อยละ 60 และตราสารทุน ร้อยละ 40 ซึ่งมีความเสี่ยงระดับปานกลาง โดยมีนโยบายให้เลือกในการลงทุน 2-3 รูปแบบ สามารถเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนได้ทุก 6 เดือน และความถี่การรับแจ้งผลตอบแทนการลงทุนทุก 3 เดือน เมื่อจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยภูมิหลัง พบว่าสมาชิก อายุ 20-45 ปี เลือกนโยบายความเสี่ยงปานกลาง ส่วนสมาชิกอายุ 46-60 ปี เลือกนโยบายความเสี่ยงต่ำ ระดับการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท เลือกนโยบายความเสี่ยงปานกลาง ส่วนระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกนโยบายความเสี่ยงต่ำ ส่วนปัจจัยเรื่องรายได้ทุกระดับ ส่วนใหญ่เลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9310
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_119121.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons