Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9379
Title: แนวทางขับเคลื่อนการเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย ตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Guidelines for driving towards participatory organic guarantee system of safety vegetable production farming group in Nong Phak Waen Sub-district, Tha Inane District. Lon Buri Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สลักจิต จันทร์ปล้อง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรอินทรีย์--ไทย--มาตรฐานการผลิต.
ผักอินทรีย์--การผลิต
กลุ่มเกษตรกร--ไทย--ลพบุรี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภูมิสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย 2) ศึกษากระบวนการผลิตของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย 3) ประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และ 4) พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย ตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพภูมิสังคมและเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศอยู่ในเขตป่าสงวนทั้งหมด เป็นที่ราบ เหมาะแก่การเพาะปลูก สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.5 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีรายได้จากการขายผัก มีแหล่งเงินทุนของตนเอง มีพื้นที่ปลูกผัก เฉลี่ย 0.9 ไร่ มีแหล่งนํ้าของตนเอง การจำหน่ายผลผลิตในชุมชน 2) กระบวนการผลิต มีการเตรียมพันธุ์ ผักที่เกษตรกรปลูกมากที่สุด ได้แก่ คะน้า ผักชี กระเพรา ผักบุ้งจีน โหระพา กวางตุ้ง ตะไคร้ ผักกาดขาว พริก มะเขือเปราะ และแมงลัก ส่วนใหญ่ปลูกภายนอกโรงเรือน มีการเตรียมดินก่อนปลูก โดยใช้เมล็ดโรยเป็นแถว ให้นํ้าทางผิวดิน ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดิน ใส่ปุ๋ยตามประสบการณ์ ปุ๋ยส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยคอก หากพบโรคและแมลงศัตรูพืช กำจัดด้วยการถอนทิ้งออกนอกแปลง กำจัดวัชพืชด้วยการถอนหรือถางทิ้ง ดัชนีชี้วัดบ่งบอกอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีและขนาด ใช้มีดในการเก็บเกี่ยว หลังการเก็บเกี่ยวมีการทำความสะอาด ตัดแต่ง และคัดเลือกขนาด 3) ผลการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม สิ่งที่เกษตรกรปฏิบัติได้ระดับน้อย ได้แก่ ด้านการแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง ปฏิบัติได้ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการบันทึกข้อมูลการผลิต ด้านการทวนสอบ และด้านการจัดการศัตรูพืช และปฏิบัติได้ระดับมาก ได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านการวางแผนการจัดการ ด้านการเลือกพันธุ์/เมล็ดพันธุ์ด้านการจัดการและการปรับปรุงดิน ด้านการเก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และด้านการบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่ง 4) แนวทาง การขับเคลื่อนให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ (1) ภาครัฐให้ความรู้เรื่องหลักการปฏิบัติ และติดตามการดำเนินตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วมแก่เกษตรกรทุกมิติอย่างต่อเนื่อง (2) การปฏิบัติตามมาตรฐานข้อกำหนดให้อยู่ในเกณฑ์และสร้างความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างเกษตรปลอดภัยกับเกษตรอินทรีย์ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค (3) สร้างความรู้ให้เกิดความตระหนักถึงโทษในการใช้สารเคมี และสร้างความเข้าใจในการผลิตพืชผักอินทรีย์ (4) สนับสนุนเกษตรกรที่มีความพร้อมด้านการผลิตและการขอใบรับรองตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (5) เพิ่มช่องทางสร้างการรับรู้ให้หลากหลายและรวดเร็วเรื่องหลักการเกษตรอินทรีย์ และหลักการรับรอง PGS แก่เกษตรกร (6) ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในด้านแผนงาน งบประมาณการส่งเสริมพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ให้ต่อเนื่องและยั่งยืน (7) ส่งเสริมและเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9379
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons