Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9405
Title: ความต้องการศูนย์สื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของครูระดับปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
Other Titles: The need for a media center to enhance preschool children development of early childhood education teachers in schools under the Office of Nakhon Pathom Primary Education Service Area 2
Authors: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนี โพธิ์ทา, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศูนย์การเรียน--ไทย--นครปฐม
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศูนย์สื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของครูระดับปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนระดับปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 222 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 มีความต้องการศูนย์สื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยภาพรวมในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า (1) ด้านการบริหารศูนย์สื่อควรกำหนดปณิธาน ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยนำนวัตกรรมวิจัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้พัฒนาเด็กปฐมวัย โครงสร้างฝ่ายวิชาการมีงานด้านพัฒนาหลักสูตรและการสอน บุคลากรมีฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อด้านปฐมวัย (2) ด้านวิชาการ มีการพัฒนาครูโดยการศึกษาดูงาน เข้าร่วมประชุมสัมมนา ด้านวิจัยและพัฒนาสื่อด้านปฐมวัยมีการศึกษาวิจัยสื่อ (3) ด้านการบริการของศูนย์สื่อ มีการจัดหาและผลิตสื่อใหม่ทุกเดือน ให้บริการยืมสื่อครั้งละ 3 ชิ้น ระยะเวลาในการยืม ครั้งละ 10 วัน การให้บริการตอบคำถาม และค้นคว้าให้บริการตอบคำถามบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบริการ ให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาด้านสื่อ (4) ด้านประเภทของสื่อสำหรับครู มีความต้องการสื่อประสม (5) ด้านประเภทของสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย มีความต้องการสื่อประกอบกิจกรรมเกมการศึกษา (6) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกของศูนย์สื่อ ควรมีสนามเด็กเล่น ภายในควรมีการจัดป้ายนิเทศเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อ และนวัตกรรม (7) ด้านสถานที่ตั้งของศูนย์สื่อจัดตั้งบริเวณโรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอและการเลือกพื้นที่ตั้งควรเลือกที่มีบริเวรกว้างขวาง และ (8) ด้านการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกของศูนย์ สื่อควรมีห้องเตรียมการประชุม มีระบบแสงสว่างและมีเครื่องมือสื่อสาร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9405
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
137357.pdf18.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons