Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9448
Title: แนวทางการพัฒนาสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านแยง สู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ
Other Titles: Development guidelines for Ban Yang rubber farmers group members to be Smart Farmers
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกฤตา สว่างเนตร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม
สวนยาง
เทคโนโลยีการเกษตร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพภูมิสังคม และเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย. บ้านแยง 2) การจัดการการผลิตของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย. บ้านแยง 3) การประเมินศักยภาพการเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย. บ้านแยง และ 4) แนวทางการพัฒนาสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านแยง สู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพภูมิสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรสมาชิกชาวสวนยางพาราส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.32 ปี ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก รายได้รวมภาคการเกษตรเฉลี่ย 346,695.65 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ย 153,304.34 บาทต่อปี 2) การจัดการการผลิตของสมาชิก พบว่า มีพื้นที่ เฉลี่ย 38.27 ไร่ ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM660 ปลูกพืชอื่นแซมตอนเริ่มปลูกปัจจุบันมีการปลูกพืชแซมเหลือร้อยละ 19.10 มีประสบการณ์การปลูกยางเฉลี่ย 13.28 ปี ใส่ปุ๋ย 2 ครั้งต่อปี ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เฉลี่ย 71.58 กิโลกรัม/ไร่/ครั้ง ไม่ใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มนํ้ายาง กำจัดวัชพืชโดยการตัด เปิดกรีดเมื่อต้นยางอายุ 6 - 9 ปี กรีดสองวันเว้นหนึ่งวัน แรงงานกรีดยางพื้นที่ตนเอง 1-2 คน แรงงานในครัวเรือน ร้อยละ 67 จ้างแรงงาน ร้อยละ 45.30 จ้างแบ่งส่วน 60:40 และ 50:50 ผลิตยางก้อนถ้วยเป็นหลัก ขายผ่านกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.บ้านแยง ผลผลิตยางเฉลี่ย 14.74 ตัน/ครัวเรือน/ปี ราคายางเฉลี่ย 21.35 บาท/กิโลกรัม (ปีการผลิต 2563/2564) 3) การประเมินศักยภาพการเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของสมาชิก พบว่า คุณสมบัติที่มีความสามารถสูงสุด 3 อันดับแรก (1) ความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร (2) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม (3) การบริหารจัดการผลิตและการตลาด คุณสมบัติที่มีความสามารถตํ่าสุด (1) ความรู้ในเรื่องยางพารา (2)ความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค แบ่งเกษตรกรเป็น 3 กลุ่ม (1) Existing Smart Farmer ร้อยละ 36.50 (2) Developing Smart Farmer ร้อยละ 53.00 และ (3) เข้าไม่ถึงการเป็นเกษตรกรอัจฉริยะร้อยละ 10.50 และ 4) แนวทางการพัฒนาสมาชิกกลุ่มเกษตรกร สร้างการรับรู้เกี่ยวกับเกษตรกรอัจฉริยะ ประเมินเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ ด้านรายได้ ให้ความรู้เทคโนโลยีริมโฟลว์เพิ่มนํ้ายาง ทำเกษตรผสมผสาน ด้านคุณสมบัติพื้นฐาน 6 ข้อ พัฒนาทักษะการถ่ายทอดความรู้ พัฒนาการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและแอปพลิเคชั่น ลดหรือปรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พัฒนากระบวนการจัดการผลิตยางพาราที่ได้มาตรฐานต่างๆ จัดพื้นที่อนุรักษ์ ปลูกยางพาราทดแทนป่าไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนการร่วมกิจกรรมอื่น สร้างเครือข่ายของเกษตรกร สร้างต้นแบบความสำเร็จ เพื่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดี สร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่เกิดความสนใจในอาชีพเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9448
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons