Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9463
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร | th_TH |
dc.contributor.author | แสงเดือน บุญเดชานันทน์, 2532- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-13T07:14:43Z | - |
dc.date.available | 2023-09-13T07:14:43Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9463 | en_US |
dc.description.abstract | งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนบรรษัทภิบาลกับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2) เพื่อให้แนวนโยบายแก่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะมุ่งทดสอบว่าระดับคะแนนบรรษัทภิบาลเป็นการส่งสัญญาณที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของนักลงทุนในการกำหนดผลตอบแทนที่ต้องการได้รับจากการลงทุน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับคะแนนบรรษัทภิบาลในภาพรวมกับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 534 บริษัท โดยใช้ตัวแบบการประเมินราคาสินทรัพย์ทุน ในการคำนวณต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น และใช้วิธีการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณประมาณค่าสัมประสิทธ์ิด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด โดยมีตัวแปรตาม คือ ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรอิสระ คือ คะแนนบรรษัทภิบาลที่ระดับดี ระดับดีมาก และระดับดีเลิศ โดยใชตั้วแปรควบคุมอื่น ๆ ที่อาจมีความสัมพันธ์กับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 5 ตัวแปร คือ ขนาดบริษัท อัตราส่วนมูลค่าตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม กำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนบรรษัทภิบาลที่ระดับดี ระดับดีมาก และระดับดีเลิศ มีความสัมพันธ์กับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นในทิศทางผกผันกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 0.05 และ 0.05 ตามลำดับ อีกทั้งการที่บริษัทมีการพัฒนาระดับคะแนนบรรษัทภิบาลให้ดีขึ้นจะยิ่งทำให้ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงได้ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บริษัทได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลที่ 3 คะแนน หรือระดับดี จะช่วยลดต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นลงได้ร้อยละ 0.0421 เมื่อเทียบกับบริษัทที่ได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลน้อยกว่า 3 คะแนน และหากบริษัทมีการพัฒนาระดับคะแนนบรรษัทภิบาลให้เพิ่มขึ้นเป็นที่ระดับ 4 คะแนน หรือระดับดีมาก และที่ระดับ 5 คะแนนหรือระดับดีเลิศ จะช่วยลดต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลงได้ร้อยละ 0.0492 และร้อยละ 0.0518 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับบริษัทที่ได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลน้อยกว่า 3 คะแนน ซึ่งการลดลงของต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นจะมากกว่าการที่บริษัทได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลเพียง 3 คะแนน และ 2) เนื่องจากผู้ถือหุ้นมองว่าการที่บริษัทได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลที่ดี จะทำให้ความเสี่ยงจากการลงทุนลดลง ผู้ถือหุ้นจึงยอมรับผลตอบแทนที่ต่ำลงได้ ส่งผลให้ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลง นำไปสู่การให้แนวนโยบายแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการปรับโครงสร้างเงินทุนให้เหมาะสมโดยพยายามลดการระดมทุนผ่านส่วนของหนี้ลง และจัดหาเงินทุนผ่านส่วนของผู้ถือหุ้นควบคู่กับการมุ่งยกระดับคะแนนบรรษัทภิบาลที่จะทำให้ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | บรรษัทภิบาล | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนบรรษัทภิบาลกับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Relationship between corporate governance score and cost of equity of the listed companies in Stock Exchange of Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are: 1) to investigate a relationship between the corporate governance score and the cost of equity of the listed companies in Stock Exchange of Thailand; and 2) to provide policy guidelines for the listed companies in Stock Exchange of Thailand. The main focus is to test the corporate governance score as a signal that relates to the investor’s decision regarding the required expected return on investment. This research is a study of the relationship between the corporate governance score and the cost of equity of the listed companies in Stock Exchange of Thailand in 2020, accounting for 534 companies. The Capital Asset Pricing Model is used to calculate the company’s cost of equity, and Multiple Linear Regression analysis based on the Ordinary Least Square method is employed for coefficient estimation. The dependent variable is the cost of equity, which is influenced by the independent variables are the score of corporate governance, separated into good, very good, and excellent levels. There are five control variables expected to have a relationship with the cost of equity, including the company’s size, market to book ratio, return on assets, earning per share, and debt to equity ratio. This study revealed that 1) the corporate governance scores of good, very good, and excellent have a statistically significant inverse relationship with the cost of equity at significance levels of 0.10, 0.05, and 0.05, respectively. Improvement in the corporate governance score can result in a decrease in the cost of equity. This can be seen in the companies that obtained a corporate governance score of 3, or good level, and can reduce their cost of equity by 0.0421 percent compared to companies that have a corporate governance score of less than 3. If the company can improve its corporate governance score to the level of 4, or very good level, and the level of 5, or excellent level, it will reduce the cost of equity by 0.0492 percent and 0.0518 percent, respectively, compared to companies that have corporate governance score lower than 3. The reduction in the companies' cost of equity is larger than the companies that have a corporate governance score of 3; and 2) as shareholders realize that achieving a higher corporate governance score can reduce investment risk, they are thus willing to accept the lower return. This allows the company's cost of equity to decrease. This led to the policy guidelines for the listed companies in Stock Exchange of Thailand that they should adjust their capital structure appropriately by trying to reduce the portion of their financing coming from debt and financed by equity, together with emphasizing on corporate governance score improvement to lower the cost of equity. | en_US |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License