กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9463
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนบรรษัทภิบาลกับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between corporate governance score and cost of equity of the listed companies in Stock Exchange of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร
แสงเดือน บุญเดชานันทน์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
บรรษัทภิบาล
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนบรรษัทภิบาลกับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2) เพื่อให้แนวนโยบายแก่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะมุ่งทดสอบว่าระดับคะแนนบรรษัทภิบาลเป็นการส่งสัญญาณที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของนักลงทุนในการกำหนดผลตอบแทนที่ต้องการได้รับจากการลงทุน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับคะแนนบรรษัทภิบาลในภาพรวมกับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 534 บริษัท โดยใช้ตัวแบบการประเมินราคาสินทรัพย์ทุน ในการคำนวณต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น และใช้วิธีการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณประมาณค่าสัมประสิทธ์ิด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด โดยมีตัวแปรตาม คือ ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรอิสระ คือ คะแนนบรรษัทภิบาลที่ระดับดี ระดับดีมาก และระดับดีเลิศ โดยใชตั้วแปรควบคุมอื่น ๆ ที่อาจมีความสัมพันธ์กับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 5 ตัวแปร คือ ขนาดบริษัท อัตราส่วนมูลค่าตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม กำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนบรรษัทภิบาลที่ระดับดี ระดับดีมาก และระดับดีเลิศ มีความสัมพันธ์กับต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นในทิศทางผกผันกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 0.05 และ 0.05 ตามลำดับ อีกทั้งการที่บริษัทมีการพัฒนาระดับคะแนนบรรษัทภิบาลให้ดีขึ้นจะยิ่งทำให้ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงได้ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บริษัทได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลที่ 3 คะแนน หรือระดับดี จะช่วยลดต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นลงได้ร้อยละ 0.0421 เมื่อเทียบกับบริษัทที่ได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลน้อยกว่า 3 คะแนน และหากบริษัทมีการพัฒนาระดับคะแนนบรรษัทภิบาลให้เพิ่มขึ้นเป็นที่ระดับ 4 คะแนน หรือระดับดีมาก และที่ระดับ 5 คะแนนหรือระดับดีเลิศ จะช่วยลดต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลงได้ร้อยละ 0.0492 และร้อยละ 0.0518 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับบริษัทที่ได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลน้อยกว่า 3 คะแนน ซึ่งการลดลงของต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นจะมากกว่าการที่บริษัทได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลเพียง 3 คะแนน และ 2) เนื่องจากผู้ถือหุ้นมองว่าการที่บริษัทได้รับคะแนนบรรษัทภิบาลที่ดี จะทำให้ความเสี่ยงจากการลงทุนลดลง ผู้ถือหุ้นจึงยอมรับผลตอบแทนที่ต่ำลงได้ ส่งผลให้ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลง นำไปสู่การให้แนวนโยบายแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการปรับโครงสร้างเงินทุนให้เหมาะสมโดยพยายามลดการระดมทุนผ่านส่วนของหนี้ลง และจัดหาเงินทุนผ่านส่วนของผู้ถือหุ้นควบคู่กับการมุ่งยกระดับคะแนนบรรษัทภิบาลที่จะทำให้ต้นทุนเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9463
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons