Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9477
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2555
Other Titles: Factors relating to the successful of laboratory quality management of Somdechphrapinklao Hospital under the standard of medical technology 2012
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุษณีย์ เจริญรัตนกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาล--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การบริหารคุณภาพโดยรวม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของความสำเร็จของการบริหารคุณภาพ ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2555 (2) ปัจจัยในการ บริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับ ความสำเร็จของการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตามมาตรฐาน งานเทคนิคการแพทย์ 2555 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ได้แก่ แพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล และพนักงานช่วยการพยาบาล จำนวน ทั้งสิ้น 86 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ 71 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ แต่สามารถเก็บรวบรวม ข้อมูลจากตัวอย่างได้ถึง 82 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับของความสำเร็จของการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2555 โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก (2) ปัจจัยในการบริหารคุณภาพ ห้องปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยพบว่า การบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการจะ สัมฤทธิ์ผลได้ต้องเกิดจากปัจจัยด้านความเข้าใจต่อระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการ ติดตามและแก้ไขปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของบุคลากรและการสนับสนุนของ ฝ่ายบริหาร ตามลำดับ (3) ปัจจัยในการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของ การบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2555 ในระดับปานกลางและในทิศทาง เดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยในด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จ ของการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การติดตามแก้ไขปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง และ ความเข้าใจต่อระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามลำดับ สำหรับการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร มี ความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการน้อยที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9477
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140988.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons