Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9487
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกุลชลี จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิภาวรรณ ตั้งวิริยะตระกูล, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T03:14:55Z-
dc.date.available2023-09-14T03:14:55Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9487-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 2) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 5) สมรรถนะหลักและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 317 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 .98 และ .98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี และด้านการพัฒนาตนเอง 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงเอกัตบุคคล ด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญาและด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 3) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการเพิ่มอำนาจบุคคล ด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ ด้านการปฏิรูปองค์กร ด้านการใช้เทคโนโลยีและด้านการจัดการความรู้ 4) สมรรถนะหลักและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ร่วมกันทำนายการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 82.6 ส่วนภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงการเป็นเอกัตบุคคล ร่วมกันทำนายการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 89.5th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงth_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--นครราชสีมาth_TH
dc.titleสมรรถนะหลักและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4th_TH
dc.title.alternativeThe core competency and transformational leadership of school administrators affecting the being of learning organization of Schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 4en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the level of the core competency of school administrators under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 4; 2) the level of the transformational leadership of school administrators; 3) the level of being of learning organization of schools; 4) the relationship between the core competency and transformational leadership of school administrators and the being of learning organization of schools; and 5) the core competency and transformational leadership of school administrators affecting the being of learning organization of schools. The research sample consisted of 317teachers in schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 4, all of whom were obtained by stratified random sampling based on school size. The employed research instrument was a questionnaire, dealing with data on the core competency of school administrators, the transformational leadership of school administrators, and the being of learning organization of schools, with reliability coefficients of .97 .98 and .98, respectively. The statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficients, and stepwise multiple regression analysis. The research finding were: 1) the overall of the core competency of school administrators under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 4 were rated at the highest level, with each aspect ranked as follows: the teamwork, the achievement motivation, the service mind, and the self-development; 2) the overall of the transformational leadership of school administrators were rated at the highest level, with each aspect ranked as follows: the inspirational motivation, the individualized consideration, the intellectual stimulation, and the idealized influence; 3) the overall of the being of learning organization of schools were rated at the highest level, with each aspect ranked as follows: the people empowerment, the learning dynamics, the organization transformation, the technology application, and the knowledge management; 4) the core competency and the transformational leadership of school administrators positively correlated with the being of learning organization of schools which were statistically significant at the .01 level; and 5) the core competency of school administrators, such as the self-development, the teamwork, and the achievement-determination, which altogether could explain the variance of the being of learning organization of schools by 82.6%. The transformational leadership of the school administrators such as the intellectual stimulation, the inspirational motivation, the individualized consideration which altogether could explain the variance of the being of learning organization of schools by 89.5%en_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons