Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9491
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอารีรัตน์ บุญแรง-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T03:29:33Z-
dc.date.available2023-09-14T03:29:33Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9491-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทย สุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาการตัดสินใจของผู้ใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) เปรียบเทียบ การตัดสินใจของผู้ใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราชจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) เพื่อศึกษาปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาด ที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้รับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ไม่ใช่บุคลากร ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของ เครจซี่ และมอร์แกนได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 210 คน เมื่อทำการการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจึงได้กลุ่มที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุประมาณ 40 -60 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ /ลูกจ้างของรัฐ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป มาใช้บริการต่อเนื่องหลายครั้ง (2) การตัดสินใจใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทย สุโขทัยธรรมาธิราช ของผู้ตอบแบบสอบถาม เพื่อต้องการรักษาการแพทย์ทางเลือกเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ การมีปัญหาสุขภาพที่ต้องการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับข้อมูลข่าวสารจาก การบอกต่อจากเพื่อนหรือญาติเป็น อันดับแรก รองลงมาได้แก่ป้ายประกาศหน้าคลินิก โดยเกณฑ์การตัดสินใจใช้บริการของผู้ใช้บริการคลินิก แพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช คือ การอยู่ใกล้แหล่งชุมชน คมนาคมสะดวกเป็นอันดับแรก รองลงมา ได้แก่ การดำเนินงานโดยสถาบันการศึกษาและสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิทางราชการ ตามลำดับ วัตถุประสงค์ การมารับบริการคือ การนวดรักษาเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่มาปรึกษาปัญหาสุขภาพ และซื้อยาแผนไทย ตามลำดับ และการมาใช้บริการครั้งต่อไป เนื่องจากประสบการณ์เดิมเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ การได้รับ คำแนะนำจากพนักงานนวดรักษา (3) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีการตัดสินใจที่ไม่ แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอาชีพที่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราชทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร และด้านลักษณะทางกายภาพth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคลินิก--การตลาดth_TH
dc.subjectแพทย์แผนโบราณ--การตลาดth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ใช้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.title.alternativeMarketing mix factors relating to decision making of customers in using service of Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical Clinicth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were: (1) to study personal data of patients who used Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic’s service; (2) to study decision making of patients who used Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic’s service; (3) to compare decision making of patients who used Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic’s service by personal factors; and (4) to study marketing mix factors relating to decision making of patients who used Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic’s service. The population of this study was patients of Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic who were not personnel of Sukhothai Thammathirat Open University. The sample size of this study was 210 patients determined by using Krejcie and Morgan’s table. When systematic random sampling method was employed , the samples were totally 230 patients. The tool used in data collection was a questionnaire. The statistics used in data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA and Pearson’s correlation. The study results indicated that : (1) most of the respondents were female, 40 to 60 years of age and government official/ state enterprise official/ government employee. They got Bachelor’s degree, more than 40,000 baht per month income and used the service many times continuously; (2) the decision making of respondents in using Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic’s service were as follows: they required to cure with optional treatment and had health problem which needed to cure continuously, they received information from friends or cousins and the announcement through a bulletin board in front of the clinic, their decision criteria were the clinic located near the community where transportation was convenient and proceeded by educational institute where medical benefits from government was provided, they used the service of massage for curing followed by health consulting and purchasing Thai traditional medicine, and they used the service again because they had good experience here and got suggestion from massage therapists; (3) the respondents with different personal factors had no difference in decision making except occupation at the .05 statistically significant level; and (4) all marketing mix factors related to decision making in using Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic’s service at the .05 statistically significant level which the first factor was product followed by promotion, place, price, process, people and physical evidence, respectivelyen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142602.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons