Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9493
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชรี ผาสุข | th_TH |
dc.contributor.author | รัตนาภรณ์ ลีลาพากเพียร, 2534- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-14T03:38:19Z | - |
dc.date.available | 2023-09-14T03:38:19Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9493 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมขายอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรี (2) ศึกษากลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย (3) วิเคราะห์อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาล (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขายอ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ โรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออก 4 โรงงาน และเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรีที่จดทะเบียนชาวไร่อ้อยตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรี จํานวน 390 ราย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และตัวแบบเชิงเส้นแบบวางนัยทั่วไป อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 94.62 มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี ร้อยละ 46.62 จบระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 46.15 มีพื้นที่ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 92 ไร่ รายได้จากการปลูกอ้อยเฉลี่ย 5,562.13 บาทต่อไร่ ต้นทุนเฉลี่ยในการปลูกอ้อย 5,016.6 บาทต่อไร่ แรงงานในครัวเรือน เฉลี่ยเท่ากับ 3 คน เหตุผลการตัดสินใจขายอ้อยของเกษตรกร คือ โรงงานรับซื้อใกล้พื้นที่ปลูกอ้อย รู้จักกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมในโรงงานน้ำตาล และพอใจกับเงื่อนไขที่ทางโรงงานกําหนดไว้ 2) การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกจะใช้กลยุทธ์ในการับซื้อ 2 วิธี คือ (1) กลยุทธ์การรับซื้อแบบพันธสัญญาโดยเกษตรกรจะต้องนำอ้อยมาขายคืนให้โรงงาน เนื่องจากเกษตรกรรับเงินทุน หรืออุปกรณ์การผลิตไปแล้ว เมื่อหักทุนแล้วก็เป็นรายได้ของเกษตรกร และ (2) กลยุทธ์สัญญาซื้อขายอ้อยจะทำสัญญาถึงการคาดการณ์ปริมาณอ้อยไว้กับโรงงาน เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะนำอ้อยมาขายให้ แต่ทางเกษตรกรจะขายให้โรงงานใดก็ได้เนื่องจากไม่มีหนี้ค้างกับโรงงาน 3) กรณีที่เกษตรกรเลือกขายอ้อยโดยใช้กลยุทธ์พันธสัญญาจะทำให้เกษตรกรได้อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มมากกว่ากลยุทธ์สัญญาซื้อขายที่เป็นตัวเงินเท่ากับ 12,435.5 บาทต่อปีที่เพิ่มจากรายได้เฉลี่ยในการขายอ้อยต่อปีและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจขายอ้อยของเกษตรกร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ รายได้ในการขายอ้อย ปริมาณพื้นที่ปลูกอ้อย และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4) ปัญหาและอุปสรรคของการผลิตและการขายอ้อยในระดับมากที่สุด คือ ปุ๋ยราคาแพง ขาดแคลนแรงงาน และค่าจ้างรถบรรทุกแพง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรมอ้อย--ไทย (ภาคตะวันออก) | th_TH |
dc.subject | เกษตรพันธสัญญา--ไทย (ภาคตะวันออก) | th_TH |
dc.title | อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Monetary marginal utility of farmers on purchasing strategies of sugarcane mill in Eastern Region of Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are (1) to study general information and selling behaviour of sugarcane farmers in Sa Kaeo and Chonburi Province, (2) to study the sugarcane purchasing strategies of sugarcane mills in Eastern Thailand, (3) to analyze the monetary marginal utility of farmers in purchasing strategies of sugarcane mill, and (4) to study the problems and obstacles in selling sugarcane of farmers within Sa Kaeo and Chonburi provinces. The population used in the study were four sugarcane mills in the eastern region and sugarcane farmers within Sa Kaeo and Chonburi Province who registered under Sugar Cane and Granulated Sugar Act, B.E. 2527. The sample group was compiled of 390 cases of sugarcane farmers within Sa Kaeo and Chonburi Province. The research instruments were the form of interview and the questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and the generalized linear model. The results showed that 1) most of the respondents were male, 94.62%; aged between 51-60 years, 46.62%; attained primary education level, 46.15%; owned an average sugarcane cultivation area of 92 rai; had an average revenue of 5,562.13 baht per rai; incurred an average cultivation cost of 5,016.6 baht per rai, utilized average household labour of 3 people. The reasons supported for selling the sugarcane were the location of the factory which located close to the sugarcane cultivation area, familiarity with the supported staff of the sugarcane mills, and the satisfaction with the conditions set by the factory; 2) the sugarcane purchase of the sugarcane mill in the east relied on 2 purchasing strategies which were (1) the buying commitment strategies which farmer had to sell the sugarcane back to the sugarcane mill since they previously received fund or production equipment from the sugarcane mill. Thus, after subtracting that cost, it became the farmers’ revenue and (2) the buying contract strategy which set the contract about the forecasted volume of sugarcane and when the harvest season arrived, the sugarcanes would be sold. However, the farmers could freely choose which sugarcane mills they would sell for, as they had no debt with particular sugarcane mill; 3) if the farmers designed to sell sugarcane under the buying commitment strategy, they would get the monetary utility of 12,435. 5 baht per year above the yearly average income which more than what they would get from the buying contract strategy. The factors that had a statistically significant effect on the farmers' decision to sell sugarcane at 0.05 level were the income from sugarcane sales, sugarcane cultivation area, and the number of household members; 4) the major problems and obstacles for sugarcane production and sale were the expensive fertilizers, the labour shortage, and the high cost of transportation | en_US |
dc.contributor.coadvisor | อดิเรก วัชรพัฒนกุล | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License