กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9493
ชื่อเรื่อง: อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Monetary marginal utility of farmers on purchasing strategies of sugarcane mill in Eastern Region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ผาสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิเรก วัชรพัฒนกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตนาภรณ์ ลีลาพากเพียร, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมอ้อย--ไทย (ภาคตะวันออก)
เกษตรพันธสัญญา--ไทย (ภาคตะวันออก)
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมขายอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรี (2) ศึกษากลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย (3) วิเคราะห์อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาล (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขายอ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ โรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออก 4 โรงงาน และเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรีที่จดทะเบียนชาวไร่อ้อยตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดชลบุรี จํานวน 390 ราย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และตัวแบบเชิงเส้นแบบวางนัยทั่วไป อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มในรูปตัวเงินของเกษตรกรต่อกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 94.62 มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี ร้อยละ 46.62 จบระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 46.15 มีพื้นที่ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 92 ไร่ รายได้จากการปลูกอ้อยเฉลี่ย 5,562.13 บาทต่อไร่ ต้นทุนเฉลี่ยในการปลูกอ้อย 5,016.6 บาทต่อไร่ แรงงานในครัวเรือน เฉลี่ยเท่ากับ 3 คน เหตุผลการตัดสินใจขายอ้อยของเกษตรกร คือ โรงงานรับซื้อใกล้พื้นที่ปลูกอ้อย รู้จักกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมในโรงงานน้ำตาล และพอใจกับเงื่อนไขที่ทางโรงงานกําหนดไว้ 2) การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกจะใช้กลยุทธ์ในการับซื้อ 2 วิธี คือ (1) กลยุทธ์การรับซื้อแบบพันธสัญญาโดยเกษตรกรจะต้องนำอ้อยมาขายคืนให้โรงงาน เนื่องจากเกษตรกรรับเงินทุน หรืออุปกรณ์การผลิตไปแล้ว เมื่อหักทุนแล้วก็เป็นรายได้ของเกษตรกร และ (2) กลยุทธ์สัญญาซื้อขายอ้อยจะทำสัญญาถึงการคาดการณ์ปริมาณอ้อยไว้กับโรงงาน เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะนำอ้อยมาขายให้ แต่ทางเกษตรกรจะขายให้โรงงานใดก็ได้เนื่องจากไม่มีหนี้ค้างกับโรงงาน 3) กรณีที่เกษตรกรเลือกขายอ้อยโดยใช้กลยุทธ์พันธสัญญาจะทำให้เกษตรกรได้อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มมากกว่ากลยุทธ์สัญญาซื้อขายที่เป็นตัวเงินเท่ากับ 12,435.5 บาทต่อปีที่เพิ่มจากรายได้เฉลี่ยในการขายอ้อยต่อปีและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจขายอ้อยของเกษตรกร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ รายได้ในการขายอ้อย ปริมาณพื้นที่ปลูกอ้อย และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4) ปัญหาและอุปสรรคของการผลิตและการขายอ้อยในระดับมากที่สุด คือ ปุ๋ยราคาแพง ขาดแคลนแรงงาน และค่าจ้างรถบรรทุกแพง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9493
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons