Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9495
Title: | แนวทางการจัดการทรัพยากรเกษตรตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Guidelines for agricultural resource management to the New Theory of Agriculture approach of farmers, Doem Bang Nang Bust district, Suphan Buri Province |
Authors: | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา สุนิษา พุ่มมาลา, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ทรัพยากรทางการเกษตร--การจัดการ--ไทย--สุพรรณบุรี |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) การจัดการทรัพยากรเกษตรตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 3) ผลของการใช้หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ในการจัดการทรัพยากรเกษตร และ 4) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาในการนําหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรเกษตร การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของอำเภอเดิมบางนางบวช จำนวน 333 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีของ ทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง 182 ราย ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายตามระดับชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการประชุมกลุ่ม โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จำนวน 5 รายการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรร้อยละ 57.70 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือน 3 คน ส่วนใหญ่ไม่เป็นผู้นำชุมชน ทั้งหมดเป็นลูกค้า ธกส. มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 10.99 ไร่ เป็นพื้นที่ของตนเอง และเช่าพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 7.15 ไร่ แรงงานในครัวเรือนเป็นเพศชาย ใช้แรงงานในครัวเรือนอย่างเดียว อาชีพหลักคือเกษตรกรรม ไม่มีอาชีพรอง รายได้เฉลี่ย 108,600 บาทต่อปี หนี้สินเฉลี่ย 48,800 บาท ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเอง 2) การจัดการทรัพยากรเกษตรตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ พบว่า มีการจัดสรรพื้นที่ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นเท่านั้น โดยแบ่งพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าว พืชผัก และไม้ผล ไม้ยืนต้น 3) ผลจากการใช้หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ พบว่า ส่งผลดีต่อต้านสภาพแวดล้อมในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการให้ความสําคัญในการรักษาอนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศการเกษตร 4) ปัญหาที่พบคือ เกษตรกรยังดำเนินกิจกรรมได้เพียงเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่มีการพัฒนาไปสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นกลางและขั้นก้าวหน้า โดยมีแนวทางการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้น คือ เพิ่มพื้นที่เก็บน้ำ วางแผนการผลิตให้เป็นไปตามฤดูกาล พัฒนาความรู้ด้านการจัดการพื้นที่แก่เกษตรกร สำหรับแนวทางการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง คือ ส่งเสริมการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่ม สร้างเครือข่ายด้านการผลิตและการตลาด ก่อตั้งสหกรณ์ในชุมชน และแนวทางการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าคือ ร่วมมือกับภาครัฐสร้างเครือข่ายพัฒนาด้านการผลิตและการตลาด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9495 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License