Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9496
Title: | กลยุทธ์การบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของบริษัท พีแซท คัสสัน (ประเทศไทย) จำกัด |
Other Titles: | Logistics and supply chain management strategy of the PZ Cussons (Thailand) Ltd. |
Authors: | ปรีชา ศรีศักดิ์หิรัญ ดำรงค์ งามประเสริฐ, 2493- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทพีแซท คัสสัน--การบริหาร โลจิสติกส์ทางธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กรและกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของบริษัท พีแซท คัสสัน(ประเทศไทย)จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบ ผลของความสำเร็จและอุปสรรค์ในการรวมองค์การและการบริหารการจัดการขบวนการทางธุรกิจภายในระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อจะไต้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการบริหารงานวิธีการศึกษาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาในส่วนของกลยุทธ์การรวมองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยการศึกษา ข้อมูล ผลการปฏิบัติงาน การสัมภาษณ์ การสังเกตวิธีการทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจน ผลกระทบที่เกิดจากการทำงานที่ไม่ประสานสัมพันธ์กันภายในองค์กรผลการศึกษากลยุทธ์ในการรวมองค์กร พบว่าความสำเร็จของการรวมองค์กรเกิดจากการพัฒนา บุคลากร การทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการทำกิจกรรม รส และ TPM ตลอดรวมทั้งการให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกเท่าเทียมกัน เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของการรวมองค์กรและการศึกษาการใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์และโซ่อุปทานของบริษัท พีแซท คัสสัน (ประเทศไทย) จำกัด พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จเกิด จากการใช้กลยุทธ์ทางด้านภาษี การรวบรวมความต้องการสินค้าของบริษัทในเครือ ส่วนผลกระทบที่เกิดจาก การทำกิจกรรมภายในโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเกิดจากการนำเข้าวัตถุดิบซึ่งมีกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก บริษัทฯ ปัญหาของการสื่อสารและประสานการดำเนินงานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคจากขบวนการผลิต ทำให้ผลิตสินค้าไม่ได้ตามกำหนด ทำให้วัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศล้นสต๊อก และบางครั้งไม่ส่งวัสดุตามกำหนด ทำให้ไม่มีวัสดุทำการผลิต เกิดสภาวะ “Bullwhip Effect” ซึ่งสามารถ ปรับปรุงได้โดยการให้ทุกกิจกรรมภายในโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีการสื่อสารและประสานการทำงานกัน ใช้ข้อมูลต่อเชื่อมกัน จะทำให้สามารถแก้ปัญหาให้ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9496 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112546.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License