กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9513
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension for vegetable production according to the standards of good agricultural practice of farmers in Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธิดารัตน์ สุขชู, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ผัก--ไทย--กาญจนบุรี--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจ 2) การผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การวิจัยครั้งนี้ประชากรที่ศึกษาคือเกษตรกรผู้ผลิตผักขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรปี 2563-2564 จํานวน 590 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 238 ราย และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกเป็นเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรอง จำนวน 119 ราย และเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง จํานวน 119 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรอง ร้อยละ 62.2 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.66 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ประสบการณ์ผลิตผักเฉลี่ย 14.73 ปี พื้นที่ผลิตผักเฉลี่ย 2.01 ไร่ ต้นทุนผลิตผักเฉลี่ย 20,536.68 บาท/ไร่/ปี รายได้จากการผลิตผักเฉลี่ย 172,718.07 บาท/ไร่/ปี และร้อยละ 95.0 ขายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง ส่วนเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง ร้อยละ 62.2 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.78 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ประสบการณ์ผลิตผักเฉลี่ย 15.01 ปี พื้นที่ผลิตผักเฉลี่ย 3.04 ไร่ ต้นทุนผลิตผักเฉลี่ย 19,982.57 บาท/ไร่/ปี รายได้จากการผลิตผักเฉลี่ย 201,005.88 บาท/ไร่/ปี 2) เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหลายประเด็นดังนี้ การเก็บตัวอย่าง การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร สุขลักษณะส่วนบุคคล การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ ส่วนเกษตรกรที่ได้รับการรับรองโดยภาพรวมทั้งหมดปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองมีปัญหามากที่สุด ประเด็นการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การตรวจวิเคราะห์น้ำและดินก่อนการผลิต เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมีปัญหามากที่สุดประเด็นการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 4) เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองต้องการการส่งเสริมจากบุคคลราชการมากที่สุด ใช้โปสเตอร์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ ส่วนเกษตรที่ได้รับการรับรองต้องการการส่งเสริมจากบุคคลราชการมากที่สุด ใช้คู่มือ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองโดยถ่ายทอดความรู้จากบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ และพาเกษตรกรไปดูงานแปลงต้นแบบที่ได้รับการรับรอง ส่วนเกษตรกรที่ได้รับการรับรองออกเยี่ยมเยียน ติดตามต่อเนื่อง พัฒนาให้เกิดการต่อยอดเกษตรกรจากรายเดี่ยวสู่การรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการผลิตและการค้า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9513
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons