กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9514
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation factors related to the performanace of employees : a case study of Advanced Info Service Public Company Limited in Southern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงกมล จารุสิริรังษี, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส--พนักงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ภาคใต้ (2) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ภาคใต้ (3) เสนอแนวทางในการธำรงรักษา พนักงานให้อยู่คู่กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ่ร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ภาคใต้ การวิจัยครังนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ภาคใต้ มีจำนวนทั้งหมด 273 คน ขนาดตัวอย่างที่เป็น ตัวแทนของประชากรได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์โดยขนาดตัวอย่างถูกกำหนดที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และให้ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5% จะได้จำนวนตัวอย่างของพนักงาน 163 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คำร้อยละ คำษัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าที และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานบริษัทมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี (2) ปัจจัยส่วน บุคคล ได้แก่ เพศ ระดับเงินเดึอน ระดับตำแหน่งงาน หน่วยงานที่สังกัด ที่แตกตำงกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา อายุการทำงานที่แตกต่างกันนีผลต่อการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานทุกด้านอาทิ ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน (3) ควรมีการจัดตั้งทีมวิจัยเพื่อศึกษา หรือ จัดทำวิจัยเพิ่มเติม เพราะหากปัจจัยใดจูงใจได้ดีก็จะส่งเสริมให้ผลการปฏิบัติงานดีตามไปด้วยเช่นกัน และจากกสุ่มตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าพนักงานเห็นคุณค่าของผลตอบแทนที่จะได้รับมีผลต่อการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ดังนี้นบริษัทจึงควรออกมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้เงินเดือน รวมทั้งจัดพนักงานให้อยู่ในตำแหน่งและสังกัดหน่วยงานที่เหมาะสม เพื่อลดช่องว่างด้านความคิดของพนักงาน ซึ่ง มีส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9514
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
123653.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons