กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9516
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไย อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the extension in off-season quality longan production of longan collaborative farmer group in Doi Tao District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพรรณี ใจมูล, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ลำไย--ไทย--เชียงใหม่--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ แหล่งความรู้ และความคิดเห็นในการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร 3) การจัดการโซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกในการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกรประชากร ได้แก่ เกษตรกรแปลงใหญ่ล่าไยในอำเภอดอยเต่า ทั้งหมดจํานวน 150 ราย ทําการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรทั้งหมด โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทําการสนทนากลุ่ม คณะกรรมการกลุ่ม ๆ ละ 5 คน รวมเป็น 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตยาไยคุณภาพนอกฤดู เกษตรกรมีความรู้ในระดับมาก แหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยมีแหล่งความรู้ที่ได้รับมากกว่าแหล่งอื่น ๆ คือ สื่อกลุ่ม ความคิดเห็นของเกษตรกรในการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูพบว่า เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตลําไยคุณภาพนอกฤดูในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการผลิตลำไยคุณภาพทำให้มีการใช้น้ำอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นการประหยัดน้ำ 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการใช้เทคโนโลยีด้านการราดสารโพแทสเซียมคลอเรดมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการให้นํ้า การตัดแต่งกิ่ง การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และด้านการตัดแต่งช่อผล ตามลำดับ ส่วนด้านการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร เกษตรกรนำไปปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การตัดแต่งกิ่ง การให้น้ำ และการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต 3) การจัดการโซ่อุปทานที่สำคัญ ด้านต้นน้ำ คือ การเตรียมต้นก่อนการผลิตลำไย กลางน้ำ คือ การดูแลหลังการราดสารโพแทสเซียมคลอเรส และปลายน้ำ คือ การเก็บเกี่ยว การจําหน่าย และการแปรรูป ส่วนจุดแข็ง คือ ผลผลิตลำไยมีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จุดอ่อนคือ ขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต โอกาสคือ สภาพพื้นที่มีความเหมาะสมในการผลิตลำไยนอกฤดู และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน อุปสรรคคือ ปัจจัยการผลิตราคาสูง และราคาผลผลิตไม่มีความแน่นอน 4) ปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสำคัญด้านราคาและการตลาด ข้อเสนอแนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะด้านราคาและการตลาด ได้แก่ จัดหาช่องทางในการจัดจำหน่ายผลผลิตลำไยทั้งผลสดและลําไยอบแห้งให้หลากหลายช่องทาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9516
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons