Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9517
Title: การผลิตและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการส่งออกของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดตราด
Other Titles: Durian production and extension needs for durian production for export standard of collaborative durian farmers in Mueang Trat District, Trat Province
Authors: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณะ จันทะนรารักษ์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--ไทย--ตราด--มาตรฐานการผลิต
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 3) ความรู้และความต้องการในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการส่งออกของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการส่งออกของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตราด ปี 2563 จำนวนทั้งสิ้น 152 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 11 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.50 ปี จำนวนแรงงานภายในครัวเรือนเฉลี่ย 3.57 คน มีประสบการณ์การปลูกทุเรียนเฉลี่ย 9.23 ปี ขายทุเรียนได้เฉลี่ย 115.72 บาทต่อกิโลกรัม เข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนเฉลี่ย 3.35 ปี 2) สภาพการผลิตทุเรียน พบว่า มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 21.32 ไร่ จำนวนต้นทุเรียนเฉลี่ย 454.22 ต้น มีรูปแบบการปลูกเชิงเดี่ยว เกษตรกรเลือกปลูกพันธุ์หมอนทองเนื่องจากตลาดส่งออกต้องการมีการให้น้ำ 150 ลิตร/วัน ทำระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ และทำทางระบายน้ำ การพ่นยา/ฮอร์โมนเฉลี่ย 4.41 ครั้ง มีการกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 277 ครั้ง เลือกใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 + 16-16-16+ปุ๋ยคอก โดยส่วนใหญ่มีการตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ และมีการโยงกิ่งให้มั่นคง มีรูปแบบการจำหน่ายทุเรียนแบบเหมาสวน ได้รับราคาเฉลี่ยเท่ากับ 115.72 บาท 3) ความรู้และความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีมีความรู้ระดับปานกลาง ความต้องการ พบว่า ด้านผู้ให้การส่งเสริมเกษตรกรมีความต้องการระดับมากที่สุด ในประเด็นนักวิชาการจากภาครัฐมาให้การส่งเสริมการผลิตทุเรียน ด้านเนื้อหาพบว่ามีความต้องการระดับมากที่สุด ในประเด็นความรู้เกี่ยวกับปริมาณสารพิษตกค้างและด้านรูปแบบและช่องทางการส่งเสริมเกษตรกรมีความต้องการระดับมากที่สุด ในประเด็นการลงพื้นที่ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ 4) ปัญหาในการส่งเสริม พบว่า ด้านการส่งเสริมมาตรฐาน มีปัญหาระดับมากที่สุดในประเด็นขาดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออก ด้านการส่งเสริมผลิตทุเรียนมีปัญหาระดับมากที่สุด ในประเด็นทุเรียนไม่ได้คุณภาพจากโรคและศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะ คือ ควรการเก็บเกี่ยวทุเรียนตามวันเวลาที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาทุเรียนอ่อน และควรมีข้อกำหนดระเบียบที่ชัดเจนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนควรให้ความรู้เรื่องการจัดการโรค และศัตรูทุเรียนเพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9517
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons