Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวัชระ แจ่มฟ้า, 2537--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T08:08:36Z-
dc.date.available2023-09-14T08:08:36Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9519-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าวและการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าว 3) ความรู้และการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าว 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าว 5) การได้รับและความต้องการรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าว และ 6) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าว ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวที่ขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในอำเภอพระนครศรีอยุธยา ข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 จำนวน 584 ครัวเรือน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 151 ครัวเรือน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.25 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวส. แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนส่วนใหญ่เฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน ประสบการณ์ในการทําเกษตรเฉลี่ย 19.33 ปี 2) เกษตรกรมีการผลิตข้าว ได้แก่ ข้าวขาว และมีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ร้อยละ 99.3 มีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวให้สนิทเมื่อเลิกใช้เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างจากสถานที่ปรุงอาหาร แหล่งน้ำและต้องใส่กุญแจโรงเก็บทุกครั้ง 3) เกษตรกรมีความรู้เรื่องชีวภัณฑ์โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเชื้อราบิวเวอเรีย ความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา และความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ ตามลำดับ 4) เกษตรกรมีปัญหาการซื้อหรือจัดหาชีวภัณฑ์ภาพรวมในระดับน้อย ปัญหาการใช้ชีวภัณฑ์ภาพรวมในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่าง ๆ ควรมีการสนับสนุนชีวภัณฑ์ให้เกษตรกร โดยเฉพาะในช่วงฤดูเพาะปลูกข้าว 5) เกษตรกรได้รับความรู้การใช้ชีวภัณฑ์จัดการศัตรูข้าว โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับอัตราการใช้ชีวภัณฑ์มากที่สุด ผ่านช่องทางการส่งเสริม ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นพับ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหอกระจายข่าว และ 6) แนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าว ได้แก่ ให้ความรู้ตามหลักวิชาการในการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าวที่ถูกต้องแก่เกษตรกรและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้อง ผ่านสื่อแผ่นพับและหอกระจายข่าวเพื่อให้เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าวที่ดียิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุม--ไทย--พระนครศรีอยุธยา.th_TH
dc.titleการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาth_TH
dc.title.alternativeThe extension in biological products usage for rice pest management for the farmers in Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) general, social and economic conditions 2) rice production condition and rice pest control 3) knowledge and biological products usage for rice pest management 4) problems and suggestions about biological products usage for rice pest management 5) the receiving and needs for extension forms and methods of biological products usage for rice pest management and 6) the analysis of extension guidelines for biological products usage for rice pest management of the farmers. The population of this study was the updated version of the name list of 584 rainfed rice growers who had registered with Phra Nakhon Si Ayutthaya district agricultural extension office in the production year 2020. The sample size of 151 persons was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 and simple random sampling method. Data were analyzed by using frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation and content analysis. The results showed that 1) most of the farmers were male with the average age of 46.25 years and completed secondary education/high vocational education. The average agricultural labor per household was 2 persons and the average 19.33 years of farming experience. 2) In the overview, the farmers produced white rice and had rice pest control at highest level. 99.3% of them adopted the correct practice in closing the lids of pesticide containers tightly after using, pesticide containers should be kept securely locked at all times and far from kitchens and sources of water supply. 3) In the overview, the farmers knew about biological products at highest level i.e. knowledge about Beauveria bassiana, Trichoderma sp. and biological products, respectively. 4) In the overview, the farmers’ problem about biological product purchasing was at low level, whereas the problem about the application of biological products was at high level. The farmers suggested that various agencies support them with biological substances, especially during rice cultivating season. 5) The farmers gained knowledge about biological product usage for rice pest management, overall, at high level. The knowledge about biological product dosage was the aspect that the farmers needed most via extension channel i.e. print media (pamphlet) and electronic media (broadcasting tower). 6) Extension guidelines for the use of biological products for rice pest management were technical knowledge about correct application of biological products via pamphlets and broadcasting towers; thus, the farmers would change for the better use of biological productsen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons