Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9521
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ กุลแก้ว, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T08:34:30Z-
dc.date.available2023-09-14T08:34:30Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9521-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน 3) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินแก่เกษตรกร 4) การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จํานวน 143 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 54.5 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 42.39 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ย 206,110.28 บาท/ปี ผลผลิตไม้ผลในปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 12.10 ต้น พื้นที่ปลูกไม้ผล เฉลี่ย 38.71 ไร่ และพื้นที่ใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินเฉลี่ย 15.95 ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 55.9 มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน อยู่ในระดับมาก รองลงมาร้อยละ 32.9 มีความรู้ระดับน้อย และร้อยละ 11.2 มีความรู้ระดับปานกลาง 3) การส่งเสริมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรร้อยละ 62.2 ได้รับข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และหมอดินอาสา และร้อยละ 58.0 ติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตรจากหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 4 ครั้งต่อปี 4) เกษตรกร ร้อยละ 40.6 มีการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินในระดับมาก รองลงมา ร้อยละ 36.4 มีการใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ระดับน้อย และร้อยละ 23.1 มีการใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ระดับปานกลาง และ 5) ประมาณกึ่งหนึ่งของเกษตรกรมีปัญหาได้แก่ ไม่มีอุปกรณ์และวัตถุดิบเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และไม่ทราบว่าจะหาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงปารุงดินของกรมพัฒนาที่ดินได้จากที่ใด โดยให้ข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมและสนับสนุนในการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาทำวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งจําหน่ายผลิตภัณฑ์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการปรับปรุงดิน--ไทย--ระยองth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรth_TH
dc.titleการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeUtilization of bio-technology substance for soil improvement by fruit farmers in Klaeng District Area of Rayong Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) socio-economic status of farmers, (2) farmers’ knowledge of bio-technology substance for soil improvement, (3) an extension of bio-technology substance for soil improvement to farmers, (4) bio-technology substance utilization for soil improvement by farmers, and (5) problems and suggestions of farmers regarding bio-technology substance utilization for soil improvement. The population of this research consisted of 143 fruit farmers in Klaeng District, Rayong Province, all of them were included in the study without sample selection. Data were collected by using a questionnaire and analyzed to determine frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, minimum and maximum values. The research results were found that (1) female farmers were 54.5 percent with an average age of 42.39 years and majority of them finished primary education. The averages of annual income and fruit produce of previous year were 206,110.28 baht and 12.10 tons while the averages of plantation area and area for bio-technology substance utilization for soil improvement were 38.721 Rai (1 Rai = 1,600 square meters) and 15.95 Rai. (2) The famers had knowledge of bio-technology substance for soil improvement at high, low, and moderate levels accounting for 55.9, 32.9 and 11.2 percent respectively. (3) An extension of bio-technology substance for soil improvement, 62.2 percent of farmers received information via village leader, village sage, and soil doctor and 58 percent of them contacted agricultural officials of government agency over four times annually. (4) Bio-technology substance for soil improvement were used by farmers at high, low, and moderate levels accounting for 40.6, 36.4, and 23.1 percent respectively. Moreover (5) a half of them had problems of no tools and raw materials for producing bio-technology substance for soil improvement and they didn’t know the place to receive bio-technology substance for soil improvement as made by Department of Land Development. They suggested that there should be an extension and support of using agricultural waste materials for soil improvement and bio-technology substance producing places should be informeden_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons