กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9525
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยภายใต้อนุสัญญา CITES
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of illegal wildlife trade in Thailand under the CITES convention
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประภาสินี ฉินสกลธนาพร, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์ป่า (2) ศึกษาหลักกฎหมายไทยตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวกับการควบคุมการค้าสัตว์ป่า (3) ศึกษาถึงการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) รวมถึงหลักกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2522 (4) ศึกษาถึงปัญหาข้อบกพร่องของกฎหมายไทยในการบังคับการตามอนุสัญญาไซเตส (CITES) (5) เพื่อสังเคราะห์แนวทางองค์ความรู้ใหม่และวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามบัญชี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสารจาก พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) บทความวารสารวิทยานิพนธ์ เอกสารออนไลน์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบซึ่งเป็นส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาไซเตส (CITES) ผลของการศึกษาพบว่า (1) การควบคุมการค้าสัตว์ป่าเป็นหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสัตว์ป่าถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งในการช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศหากไม่มีการควบคุมจะทำให้ชนิดพันธุ์บางชนิดที่เป็นที่ต้องการในตลาดนั้นสูญพันธุ์ไปเนื่องจากอัตราการบริโภคของมนุษย์ที่มีสูงเกินกว่ากำลังของธรรมชาติที่จะผลิตได้และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศการฟื้นฟูและเยียวยาระบบนิเวศเมื่อสูญเสียไปแล้วทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง (2) แม้ประเทศไทยจะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาไซเตส มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 รวมถึงมีการออกกฎหมาย และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหลายครั้ง ทำให้ชนิดพันธุ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายอนุสัญญาฯ ได้รับความคุ้มครอง แต่ชนิดพันธุ์เหล่านั้นกลับไม่ได้รับความคุ้มครองภายในประเทศเท่าที่ควร โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไม่สามารถคุ้มครองการค้าสัตว์ภายในประเทศได้ทุกชนิดพันธุ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายอนุสัญญา (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าประเทศแคนาดามีกฎหมายที่เป็นกฎหมายควบคุมการค้าสัตว์ป่าทั้งการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งทําให้การบังคับการตามอนุสัญญาไซเตสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แม้อนุสัญญาไซเตสมิได้กําหนดหลักการเกี่ยวกับการค้าภายในประเทศซึ่งชนิดพันธุ์ตามบัญชีท้ายอนุสัญญาโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามมาตราของอนุสัญญาไซเตสได้กำหนดมาตรการที่ภาคีต้องถือปฏิบัติ โดยกำหนดให้รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วยเพื่อทำให้การบังคับการตามอนุสัญญาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) พบว่าประเทศไทยยังคงบัญญัติกฎหมายไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาไซเตสหลายประการ เช่น รายการชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่ไม่สอดคล้องกับไซเตส และการไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการค้าภายในประเทศไทยสำหรับสัตว์ตามบัญชีรายชื่อของไซเตส เป็นต้น (5) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าภายในประเทศให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาไซเตส และเพื่อให้การบังคับการตามอนุสัญญาไซเตสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9525
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons