กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9594
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการตลาดบริการต่อการให้บริการผู้บริโภคของบริษัทโตโยต้าเภตราจำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing service factors to customer service of Toyota Petra company limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิพย์รัตน์ เภตรา, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจของผู้บริโภค
รถยนต์--การตลาด
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยการตลาดบริการต่อการให้บริการของผู้บริโภคของบริษัท โตโยต้า เภตรา จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการ (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยการตลาดต่อการใช้บริการของผู้บริโภค(3)การเปรียบเทียบความแตกต่าง ของปัจจัยการตลาดบริการต่อการใช้บริการของบริษัท โตโยตา เกตรา จำกัด วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือลูกค้าที่มาใช้บริการจำนวน 2,000 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 322 คน เครื่องมึอที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลดือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ เชิงอนุมานได้แก่ การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตํ่ากว่า 30ปื การศึกษา ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้ต่อเดือนตํ่ากว่า 20,000 บาท ภูมิลำเนาในจังหวัดปทุมธานี (2) ปัจจัยทางการตลาดต่อการเลือกใช้บริการที่บริษัท โตโยต้า เภตรา จำกัด ผู้บริโภคที่มาใช้บริการให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับดือ ด้านการส่งเสริม การตลาด ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านพนักงาน และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัย การตลาดต่อการใช้บริการของบริษัท โตโยต้า เภตรา จำกัด จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล พบว่าผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และภูมิลำเนามีความคิดเห็น ต่อระดับความสำคัญของปัจจัยการตลาดต่อการใช้บริการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน สำหรับด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านราคา และด้านลักษณะทางกายภาพ พบว่า ผู้บริโภคที่มาใช้บริการที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9594
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
139441.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons