กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9607
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัท ที.ซี.ซี. อินดัสตรี แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation in working of production personnel of T.C.C. Industry and Engineering Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนากร ทวีรัตน์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การทำงาน--แง่จิตวิทยา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่าย ผลิตของบริษัท ที.ซี.ซี. อินดัสตรี แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัท ที.ชี.ซี. อินดัสตรี แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต นำไปสู่ความสามารถในการผลิต คุณภาพงาน ความสามารถในการประสานงานและการแก้ไขปัญหาในงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัท ที.ชี.ซี. อินดัสตรี แอนค์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นพนักงานฝ่ายผลิตจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิชัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9669 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานฝ่ายผลิตของ บริษัท ที.ชี. ชี. อินดัสตรี แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด มีค่าเฉลี่ยแรงจูงใจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับแรงจูงใจที่มีระดับปานกลางได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการได้รับการยกย่อง ด้านงานที่น่าสนใจมีคุณค่า ด้านความสัมพันธ์ผู้บังคับบัญชา เพื่อน ผู้ใต้บังคับบัญชา รูปแบบการบังคับบัญชา ความมั่นคงของงาน นโยบายและการบริหารงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนระดับแรงจูงใจที่อยู่ใน เกณฑ์มาก ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน แรงจูงใจที่อยู่ในเกณฑ์ตํ่า ได้แก่ ด้านโอกาสก้าวหน้า และด้านเงินเดือน (2) พนักงานฝ่ายผลิตที่มีลักษณะบุคคลด้านประสบการณ์ และรายได้ มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพนักงานฝ่ายผลิตที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ และการศึกษา มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ข้อเสนอแนะด้านโอกาสความก้าวหน้า โดยการจัดทำคำบรรยายลักษณะงานกำหนดตำแหน่งหน้าที่งานที่ ชัดเจน และด้านเงินเดือนโดยการจัดทำโครงสร้างเงินเดือนตามหลักความรู้ความสามารถด้วยความยุติธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9607
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
115720.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons