Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9611
Title: การวิเคราะห์การจัดการคำร้องขอเพื่อการพัฒนาระบบประยุกต์ผ่านเว็บของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Analysis of the web-based request management for application development at Siam Commercial Bank PCL.
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญประอร มะกรวัฒนะ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารไทยพาณิชย์--การจัดการ
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ--กรณีศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการจัดการคำร้องขอ เพื่อการพัฒนาระบบประยุกต์ผ่านระบบเว็บรีเควช ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) การดำเนินการศึกษา ศึกษาจากขั้นตอนการทำงานของระบบ รวบรวมปัญหาและ ความต้องการของผู้ใช้งานจากการสอบถาม จากเอกสารที่มีอยู่ รวมถึงข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาทำการวิเคราะห์โดยใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) จากการศึกษาโดยใช้กรอบ แนวคิดเชิงระบบซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลเข้า (Input) กระบวนการทำงาน (Process) การนำเสนอ ผลลัพธ์หรือผลที่ได้จากระบบ (Output) รวมไปถึงข้อมูลย้อนกลับหรือผลตอบรับ (Feedback) ผลการศึกษาพบว่าระบบงานเว็บรีเควช (Web Request System) มีการจัดการ ฐานข้อมูล (Database) อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความซํ้าซ้อนของข้อมูลและสามารถนำข้อมูลมา ใช้ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ มีกระบวนการติดตามสถานะคำขออย่างเป็นระบบ จากข้อมูลที่รวบรวมได้พบว่าสามารถทำให้การพัฒนาระบบสนองตอบต่อผู้ใช้ ช่วยให้มีการจัดการคำ ร้องขอที่ดีขึ้นมาก นอกจากนี้ข้อมูลในระบบก็ยังสามารถช่วยกลั่นกรองคำร้องขอ และลดการเสียเวลาและทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาระบบที่ไม่คุ้มค่าต่อการพัฒนา โดยเฉพาะคำร้องขอที่มีแนวโน้มว่าจะถูกยกเลิกระหว่างการพัฒนา จากข้อมูลที่รวบรวมได้พบว่าปริมาณคำขอที่มีการยกเลิกระหว่างพัฒนามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการให้บริการระบบเว็บรีเควช (Web Request System) มีการให้บริการที่สามารถสนองตอบต่อผู้ใช้บริการได้ตามรูปแบบคุณภาพ บริการ (Service Quality Model) คือ 1) ลักษณะทางกายภาพ ใช้งานสะดวกและเข้าใจง่าย 2) ระบบ มีความน่าเชื่อถือ 3) มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว 4) ความมั่นใจได้ 5) การเข้าถึงจิตใจสามารถ สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ระบบได้เป็นอย่างดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9611
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118578.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons