Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชิดชนก แก้วมณี, 2529-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-09-19T02:39:44Z-
dc.date.available2023-09-19T02:39:44Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9618-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรีและวิชานาฏศิลป์ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูวิชาดนตรี และวิชานาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ที่ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 361 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบ ถามการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรี และวิชานาฏศิลป์ของครูระดับประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานผลการวิจัยปรากฏว่าการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรี และวิชานาฏศิลป์ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า (1) ด้านสภาพการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรีและวิชานาฏศิลป์ อยู่ในระดับมาก โดยประเภทของสื่อการสอนที่ครูใช้ ได้แก่ หนังสือเรียน แบบเรียน รูปภาพ วีดิทัศน์ และข้อมูลจากเว็บไซต์ ด้านการวางแผนการใช้สื่อการสอน คือ มีการเลือกดัดแปลงหรือออกแบบสื่อการสอน ด้านการเตรียมการใช้สื่อการสอน คือมีการจัดลำดับการใช้สื่อการสอน ด้านวิธีการใช้สื่อการสอน คือมีการใช้สื่อการสอนเสนอเนื้อหาบทเรียน และด้านการประเมินการใช้สื่อการสอน มีการประเมินการวางแผนและการใช้สื่อการสอน (2) ด้านปัญหาการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรีและวิชานาฏศิลป์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาการเลือกสื่อการสอนไม่เหมาะสมกับระดับของนักเรียน ปัญหาการจัดหาและเตรียมสื่อการสอนให้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ปัญหาการขาดสิ่งอำนวยความสะดวกและเอกสารคู่มือในการใช้สื่อการสอน และปัญหาการขาดการประเมินผลการใช้หรือรายงานของการใช้สื่อการสอน และ (3) ด้านความต้อง การการสนับสนุนการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรีและวิชานาฏศิลป์อยู่ในระดับมาก โดย ความต้องการความรู้ในการใช้สื่อการสอน คือต้องการความรู้ในการดูแลรักษาซ่อมแซมสื่อการสอน ความต้องการในการจัดหาสื่อการสอน คือ ต้องการเลือกสื่อการสอนจากสื่อที่มีอยู่แล้ว และความต้องการ การสนับสนุนส่งเสริมของผู้บริหารในการใช้สื่อการสอน คือ ต้องการให้ผู้บริหารและครูมีการวางแผนร่วมกันในการวางระบบการใช้สื่อการสอนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectดนตรี--การสอนด้วยสื่อth_TH
dc.subjectนาฏศิลป์--การสอนด้วยสื่อth_TH
dc.subjectสื่อการสอนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาth_TH
dc.titleการใช้สื่อการสอนวิชาดนตรี และวิชานาฏศิลป์ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3th_TH
dc.title.alternativeThe use of music and dramatic arts instructional media of primary education teachers under Chiang Mai Primary Education Service Area Office 3en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148097.pdf14.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons