กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9668
ชื่อเรื่อง: คุณภาพการให้บริการของบริษัท เมืองกาญจน์ ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Service quality of Muangkan Honda Automobile Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธรรฐสรณ์ จันทร์สุดา, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทเมืองกาญจน์ฮอนด้าออโตโมบิล--บริการลูกค้า
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการให้บริการหลังการขายของบริษัทเมืองกาญจน์ฮอนด้าออโตโมบิลจำกัด(2)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ หลังการขายกับคุณภาพการให้บริการของบริษัท เมืองกาญจน์ ฮอนด้าออโตโมบิล จำกัด (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านคุณภาพการให้บริการของบริษัท เมืองกาญจน์ ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือผู้ใช้บริการหลังการขาย จำนวน 814 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากผู้มาใช้บริการหลังการขายจำนวน 268 คน ของ บริษัท เมืองกาญจน์ ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด โดยใช้ตารางการสุ่มของ ทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ใช้สถิติแบบพรรณนา คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ แบบทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1)คุณภาพการให้บริการของ บริษัท เมืองกาญจน์ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเข้าถึงบริการ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านความสามารถ ด้านความมีไมตรีจิต ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความกระตือรือร้น ด้านความปลอดภัย ด้านลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความเข้าใจอยู่ในระดับมาก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการหลังการขายกับคุณภาพการให้บริการ พบว่า ปัจจัยต้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และรุ่นรถยนต์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการ (3) ปัญหาในด้านคุณภาพการให้บริการ คือ การเข้าถึงบริการ ที่มีจำนวนพนักงานให้บริการไม่เพียงพอกับจำนวนของลูกค้าที่มาใช้บริการ จึงเสนอแนะให้เพิ่ม บุคลากรในการให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารที่ลูกค้า ได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง จึงเสนอแนะให้มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ในการ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดให้มากขึ้นและพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อติดต่อลูกค้าให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9668
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140469.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons