Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9677
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภคของสายการบินไทยแอร์เอเชีย
Other Titles: The study of relationship between promotion and consumer behavior of Thai Air Asia
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญู, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนัชชนก แก้วสนิท, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สายการบินไทยแอร์เอเชีย--การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาการส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางกับสายการบินไทยแอร์ เอเชีย ครังนี มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของสายการบินไทยแอร้เอเชีย (2) เพื่อศึกษา การส่งเสริมการตลาดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย(3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยการส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย วิธีการศึกษาได้ทำการศึกษาโดยสอบถามผู้โดยสารที่เคยใช้บริการการเดินทางโดยเครื่องบิน ประชากรในการศึกษา คือ ผู้โดยสารที่ใช้บริการ บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด สาขาหาดใหญ่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งมีคำความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าไคร์แสควร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างจะนึกถึงสายการบินไทยแอร์เอเชียเป็นอันดับแรก เมื่อนึกถึงสายการบินต้นทุนตํ่า โดยได้รับข่าวสารผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด และเลือกค้นหาข้อมูลผ่านทาง เวปไซด์เป็นอันดับแรก ในการตัดสินใจเดินทางนั้น พนักงานมีส่วนในการตัดสินใจเดินทาง เนื่องจากได้แนะนำเที่ยวบินที่เหมาะสม เพื่อความประหยัดของผู้โดยสาร ด้านการส่งเสริมการขายโดยการจำหน่ายตั๋วราคาประหยัด เมื่อมีการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับตั๋วดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า จำนวนตั๋วและช่องทางในการชื้อตั๋วมีน้อยเกินไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยเข้าชมและซื้อตั๋วผ่านทางเวปไซด์ของไทยแอร์เอเชีย หลังเข้าชมเวปไซด์ กลุ่มตัวอย่างรู้จักไทยแอร์เอเชียมากขึ้น หากไม่จำหน่ายตั๋วราคาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่แน่ใจว่าจะเดินทางอีกหรือไม่ (2) การส่งเสริมการตลาดในส่วนของการส่งเสริมการขาย มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางมากที่สุด รองลงมาคือ การตลาดทางตรง การประชาสัมพันธ์ การใช้พนักงานขาย และการโฆษณา ตามลำดับ (3) การตัดสินใจเดินทางในอนาคต พบว่า การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจเดินทางในอนาคต ส่วนการใช้พนักงานขาย ไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจเดินทางในอนาคตแต่อย่างใด แต่โดยสรุปแล้ว การส่งเสริมการตลาดโดยรวม มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจเดินทางในอนาคต โดยมี นัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9677
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149517.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons