Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9687
Title: | สภาพ ปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช |
Other Titles: | The state, problems and needs for using educational technology of undergraduate students of Sukhothai Thammathirat Open University in the service area of Nakhon Sri Thammarat Regional Distance Education Center |
Authors: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา ทัศนพันธ์ ถึงอินทร์, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช --นักศึกษา การศึกษากับเทคโนโลยี การศึกษาทางไกล--ไทย (ภาคใต้) การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช จำนวน 286 คน ที่ลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพ ปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช พบว่า โดยภาพรวมมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับน้อย โดยนักศึกษามีการใช้สื่อกิจกรรมประเภทการสอนเสริมมากที่สุด โดยมีการเข้ารับการสอนเสริมประจำภาคเรียนอยู่เสมอ (2) ปัญหาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยนักศึกษา มีปัญหาการใช้สื่อโสตทัศน์ในเรื่องสื่อไม่สามารถกระตุ้นให้นักศึกษาใฝ่รู้ในการใช้สื่อการสอน และ (3) ความต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยนักศึกษามีความต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องการให้สร้างความตระหนักในการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน การสอนทางไกลที่นักศึกษาต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9687 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
161428.pdf | 23.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License