Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9701
Title: การศึกษาการผลิตและการตลาดของผู้ประกอบการโรงสีข้าว
Other Titles: A study on Production and marketing of Rice Mill Business
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีร คุณานุรักษ์พงศ์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงสีข้าว--การผลิต
โรงสีข้าว--การตลาด
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ผู้ประกอบการ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การดำเนินธุรกิจด้านการผลิต (2) การดำเนินธุรกิจ ด้านการฅลาค (3) การสร้างคุณค่าของผู้ประกอบการโรงสีข้าว การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเซิงพรรณนาโคยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสับภาษณ์ผู้ประกอบการโรงสีข้าวในภาคกลางแบบกึ่งมีโครงสร้าง และ ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่ แล้วมาวิเคราะห์ เชื่อมโยง โดยใช้กรอบแนวคิด โซ่แห่งคุณค่า และการตลาด ผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินธุรกิจด้านการผลิต ข้าวเปลือกเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจความสามารถในการควบคุมจัดการด้านชนิดข้าวเปลือก และคุณภาพข้าวเปลือกจะส่งผลโดยตรงต่อผลกำไร โรงสีจึงเน้นกระบวนการสรรหาข้าวเปลือก โดยพิจารณารับซื้อข้าวเปลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ในเรื่อง ชนิดข้าวและคุณภาพข้าว กระบวนการผลิตและการจัดเก็บเป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโรงสีมีการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรในการผลิตเปลี่ยนระบบจาก ไอน้ำ และนั้ามัน เป็นระบบไฟฟ้า สิ่งที่โรงสีควรเพิ่มเติมในกระบวนการผลิตคือ เครื่องอบข้าวเพื่อควบคุมและลดความชื้นสูงของข้าวเปลือกที่เกิดจากพฤติกรรมใช้รถเกี่ยวข้าวในการเก็บเกี่ยว เพิ่มกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการสีข้าว เพื่อตอบสนองกับความต้องการของ ผู้บริโภค ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บโดยเก็บข้าวในไซโล ตลอดจนเน้นกระบวนการควบคุม และพัฒนา กระบวนการผลิต (2) การด้านการตลาด ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ของโรงสีมีเพียง 1-2 ชนิด ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวที่เพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ ราคาของผลิตภัณฑ์อ้างอิงกับราคาของสมาคมโรงสี รายได้โรงสีมาจากการจัดจำหน่าย ผ่านหยงเป็นหลัก โรงสีควรเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์โดยการสร้างพันธมิตร เพิ่มตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และขยายช่องทางการตลาดไปยังผู้บริโภค ภายในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาหยง ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดผ่านทาง ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ราคาที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่สอดคล้องกับลูกค้าเป็าหมาย บุคลากร โรงสีที่มีความ(ความชำนาญ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและรวดเร็ว และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สะอาด ปราศจากมลพิษ (3) ด้านการสร้างคุณค่า กิจกรรมหลักของโรงสีได้แก่กิจกรรม ซื้อจัดเก็บข้าวเปลือก การผลิต และการสนับสนุนด้านขาออก โดยมีข้าวเปลือกเป็นปัจจัยเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมหลักต่างๆ เนื่องจากข้าวเปลือกเป็นต้นทุนร้อยละ 93.7 ของต้นทุนรวม และคุณภาพข้าวเป็นสิ่งที่กำหนดราคาขาย ดังนั้นหากโรงสี สามารถจัดหาข้าวเปลือกได้อย่างมีคุณภาพ จะสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่กิจการ สำหรับ กิจกรรมสนับสนุน โรงสีควรจัดให้มีกิจกรรมด้านการจัดหา การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการจัดการด้านทรัพยากรมบุษย์ นอกเหนือจากกิจกรรมสนับสนุนอึ่นๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9701
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118776.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons