กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9736
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตร ประจำตำบลในจังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the operation of Sub-District Centers for Agricultural Technology Transfer in Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธงชัย มากสกุล, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การถ่ายทอดเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ใน จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ วิทยากรเกษตรกรและเกษตรกร 2) ศึกษา การดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 4) ศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 42.66 ปี ระดับ การศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงาน เฉลี่ย 19.11 ปี มีระยะทางจากศูนย์ถึงสำนักงานเกษตร อำเภอ เฉลี่ย 10.34 กโลเมตร วิทยากรเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.38 ปี จบการศึกษาภาคบังคับ รายได้เฉลี่ยต่อปี 79,443.86 บาท และเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.24ปี จบการศึกษาภาคบังคับ รายได้เฉลี่ยต่อปี 47,306.26 บาท การดำเนินงานของศูนย์ มีการดำเนินการเตรียมความพร้อมของเกษตรกร/ชุมชน การจัดตั้งสำนักงาน การบริหารศูนย์การจัดตั้งจุดสาธิต การถ่ายทอดความรู้และพัฒนาวิทยากรเกษตรกร ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานศูนย์ พบว่า เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ระดับมาก ส่วน วิทยากรเกษตรกรและเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานศูนย์ ระดับมากถึงระดับมากที่สุดและระยะทาง จากศูนย์ถึงสำนักงานเกษตรอำเภอ ความรู้ ความเข้าใจในบทบาทวิทยากร ความพึงพอใจต่อการรับการสนับสนุน จากเจ้าหน้าที่ รายใด้ของเกษตรกร การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจต่อการรับการถ่ายทอดความรู้ความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาการดำเนินงานพบว่า สถานที่จัดตั้งศูนย์ไม่เหมาะสมขาดวัสดุอุปกรณ์ประกอบการถ่ายทอดคณะทำงานไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ ขาดความรู้เทคโนโลยีที่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ขาดการประสานงานกับหน่วยงาน วิทยากรเกษตรกรไม่มีความรู้ ด้านการถ่ายทอดบริการข่าวสารไม่ทันเหตุการณ์ส่วนข้อเสนอแนะพบว่าควรจัดหางบประมาณและสถานที่จัดตั้ง ศูนย์ อบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารแก่คณะทำงาน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ สือโสตจัอบรมให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านการรวมกลุ่ม ด้านการวิเคราะห์ชุมชน จัดให้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดหาบริการข่าวสารการเกษตร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9736
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
76428.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons