Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9749
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับในการทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Factors relating to the adoption of responsible fisheries by giant tiger shrimp farmers in Phetchaburi province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนัส ลาภผล, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--เพชรบุรี
ประมง--ไทย
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการทำการประมงของเกษตรกร (2) ระดับการยอมรับ ในการทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบของเกษตรกร (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับในการ ทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีอายูเฉลี่ย 43.43 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรเกือบทั้งหมด ไม่มีสถานภาพการเป็นผู้นำ และไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร มีประสบการณ์ใน การเลี้ยงกุ้งกลาดำเฉลี่ย 3.38 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นสัดส่วนไม่เกินครึ่งหนึ่ง ของรายได้ทั้งหมด จำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.26 คน มีขนาดพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 8.73 ไร่ ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเฉลี่ย 2.85 ไร่ เกษตรกรหาความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำจากการเข้า ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับปานกลาง ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการทำการประมงอย่างมี ความรับผิดชอบในระดับปานกลาง เกษตรกรยอมรับข้อกำหนดของระบบรับรองมาตรฐานฟาร์มกุ้งเลี้ยง (GAP) ไปปฏิบัติในระดับค่อนข้างมาก โดยเกษตรกรเห็นว่ามีความยู่งยากในการปฏิบัติในระดับปานกลาง และ เกษตรกรยอมรับข้อกำหนดของระบบรับรองกุ้งคุณภาพตามมาตรฐาน CoC ไปปฏิบัติในระดับค่อนข้างมาก โดยเกษตรกรเห็นว่ามีความยู่งยากในการปฏิบัติในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับข้อ กำหนดของระบบ GAP คือ ขนาดพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ลัดส่วนของรายได้จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การเข้า ร่วมกิจกรรมทางการเกษตร และความยู่งยากในการปฏิบัติ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับข้อกำหนด ของระบบ CoC คือ ลัดส่วนของรายได้จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และความยู่งยากในการปฏิบัติ เกษตรกรมีปัญหา สำคัญในเรื่องไม่มีเวลาในการบันทึกข้อมูล ยังต้องใช้ยาในกรณีกุ้งป่วย และขาดแคลนทั้งในหน้าแล้ง เกษตรกร เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐแนะนำวิธีการใช้ยาและสารเคมีที่ถูกต้อง และให้กรมชลประทานดูแลให้มีนํ้าใช้ใน การเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ตลอดปี
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9749
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82169.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons