Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9750
Title: | การดำเนินงานของเกษตรกรตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ปี 2545 ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา |
Other Titles: | The implementation of farmers under the project for post-moratorium occupational rehabilitation for farmers of the year 2002 in Mueang district, Yala province |
Authors: | รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา ธัญวุฒิ ปานหวาน, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--ยะลา |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การดำเนินงานของเกษตรกรตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ (3) ทัศนคติของเกษตรกร ต่อโครงการพื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ปี 2545 ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา (4) ปัญหา ลุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการดำเนินงานตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีอายุเฉลี่ย 49.5 ปี นับถือศาสนาอิสลาม จบการ ศึกษาระดับประถมศึกษา ได้รับข่าวสารด้านการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐและวิทยูโทรทัศน์ เป็นหลัก มีอาชีพหลักทำสวน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 7.03 ไร, โดยเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมโครงการด้านพืช เฉลี่ย 2.32 ไร, ด้านปศุสัตว์เฉลี่ย 1.35 ไร่ และด้านประมง เฉลี่ย 0.50 ไร่ มีรายได้ภาคเกษตรปี 2545 เฉลี่ย 35,160.16 บาทต่อปี และมีรายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 28,318.79 บาทต่อปี เกษตรกรทุกรายเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 48,893.18บาทต่อรายส่วนใหญ่มีการออมเงิน เกษตรกรที่เช้าร่วมโครงการทั้ง 3 ด้าน เกือบทั้งหมดได้ผ่านการถ่ายทอดความรู้ครบตามหลักสูตรโครงการและจัดทำแผนพื้นฟูอาชีพ ครบถ้วน เกษตรกรส่วนใหญ่นำเงินที่ได้รับไปซื้อปัจจัยการผลิตและดำเนินการผลิตตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ ตามแผน ส่วนใหญ่ได้รับผลผลิตจากกิจกรรมและมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตแล้ว โดยภาพรวมเกษตรกรมี ทัศนคติที่คีต่อโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้โดยมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งใน ด้านการดำเนินงาน การบริการของเจ้าหน้าที่ ความพอใจต่อโครงการและผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น เกษตรกรมีปัญหาในการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหา สำคัญที่เกษตรกรระบุว่าเป็นปัญหาในระดับมาก คือ การจัดทำบัญชีฟาร์มทำได้ยาก เกษตรกรให้ข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรูงรูปแบบการทำบัญชีให้ง่ายขึ้นและให้การอบรมอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง ควร เพิ่มเงินค่าปัจจัยการผลิตเป็นรายละ 6,000 บาท และควรขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9750 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License