Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9751
Title: แนวทางการพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Approach to business development of rubber funds cooperatives in Khok Pho district, Pattani province
Authors: สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชิต นวลชื่น, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอโคกโพธิ์
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกและกรรมการ ดำเนินการของสหกรณ์กองทุนสวนยาง 6 แห่ง อำเภอโคกโพธ จังหวัดปัตตานี พ. ศ. 2546 (2) แนวทางการ พัฒนาธุรกิจของสหกรณ์กองทุนสวนยาง (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจของ สหกรณ์กองทุนสวนยาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือสมาชิกและ กรรมการดำเนินการของสหกรณ์กองทุนสวนยาง อำเภอโคกโพธิ จังหวัดปัตตานี จำนวน 523 คน กลุ่มตัวอย่าง 91 คนได้จากการลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างหาค่าสถิติโดยใช้ค่า ร้อยละ ค่ามีมัชณิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดชันดับ และค่าที (t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกและกรรมการดำเนินการของสหกรณ์กองทุนสวนยางเป็นเพศชาย สถานภาพสมรสแล้ว มีอายุเฉลี่ย 53.64 ปี จบการศึกษาระดับภาคบังคับ มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด จำนวนสมาชิกในครอบคร้ว่เฉลี่ย 4.54 คน อาชีพหลักคือการเกษตร อาชีพรองคือร้บจ้าง มีพื้นที่ท้าการเกษตรเฉลี่ย 26.59 ไร่ พื้นที่ท้าสวน ยางพาราเฉลี่ย 21.90 ไร่ สาเหตุที่ปลูกยางพาราเพราะมีรายได้ดี ประสบการณ์การปลูกยางพาราเฉลี่ย 28.53 ปี จำนวนแรงงานในครอบครวเฉลี่ย 2.71 คน รายได้เฉลี่ยแต่ละครอบครัว130,018.00 บาท/ปี รายได้จาการขายยางพาราเฉลี่ย 115,312.00 บาท/ปี รายได้จาการขายผลผลิตยางพาราเฉลี่ย 37.10 บาท/ กิโลกรัม รายจ่ายเฉลี่ยแต่ละครอบครัว 100,004.40 บาท/ปี ไม่ได้กู้สินเชื่อเพื่อปลูกยางพารา เข้าเป็นสมาชิก ของสหกรณ์กองทุนสวนยางตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสหกรณ์ เป็นสมาชิกเฉลี่ย 9.25 ปี เข้าเป็นสมาชิกเพราะต้องการ ขายผลผลิตยางในราคายุติธรรม (2) ด้านแนวทางการพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์กองทุนสวนยาง กระบวนการจัดการ สหกรณ์และธุรกิจสหกรณ์จัดอยู่ในระดับน้อย (3) ด้านปัญหาและข้อเสนอแนะ สมาชิกและกรรมการดำเนินการของสหกรณ์กองทุน สวนยางกล่าวถึงปัญหาและมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการจัดการด้านการจัดการบุคคล และธุรกิจด้านการ แปรรูปมากที่สุดผลทดสอบสมมุติฐานพบว่า สมาชิกและกรรมการดำเนินการของสหกรณ์กองทุนสวนยางมีความ คิดเห็นเรื่องกระบวนการจัดการสหกรณ์และธุรกิจสหกรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9751
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83313.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons