Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9756
Title: การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมของสมาชิกองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยในจังหวัดอุดรธานี
Other Titles: The application of dairy production technology the dairy farming promotion organization of Thailand members in Udon Thani province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาติ งวดชัย, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โคนม--การเลี้ยง--ไทย--อุดรธานี
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การใช้ เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมของเกษตรกร (3) ปัญหา /อุปสรรคการเลี้ยงโคนมของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีอายุ เฉลี่ย 42.30 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ใน การเลี้ยงโคนม เฉลี่ย 6.21 ปี ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เฉลี่ย คนละ 33.92 ครํ่งต่อปี ได้รับข่าวสารด้านการเลี้ยงโคนมจากเอกสารสิ่งพิมพ์ การเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อนเกษตรกร และจากหน่วยงานราชการในระดับ ปานกลาง มีพื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 26.17 ไร่ เช่าที่ดินผู้อื่น เฉลี่ย 2.60 ไร่ มีพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ เฉลี่ย 13.68 ไร่ มีรายได้หลักจากการเลี้ยงโคนม มีอาชีพทำนาร่วมกับการเลี้ยง โคนม มีโคนมเพศเมียพื้งหมด เฉลี่ย 18.53 ตัว มีรายได้ในการเลี้ยงโคนม เฉลี่ย 301,480.33 บาท มีรายจ่ายในการ เลี้ยงโคนม เฉลี่ย 194,063.77 บาท ใช้แรงงานในครอบครัว เฉลี่ย 2.55 คน ใช้แรงงานจ้าง เฉลี่ย 1.44 คน เริ่มต้น เลี้ยงโคนมโดย ใช้ทุนส่วนตัว เฉลี่ย 309,127.66 บาท กู้เงิน เฉลี่ย 215,158.97 บาท ส่วนใหญ่กู้จาก (ธ.ก.ส) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนม ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ คือ ด้านโรงเรือนสำหรับโคนม ด้านพันธุ์ การผสมพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ ด้านอาหาร การให้อาหาร และการปฏิบัติเลี้ยงดู ด้านการปฏิบัติเพื่อผลิตน้ำนมที่สะอาด และด้านการสุขาภิบาลและการป้องกันรักษาโรค สำหรับปัญหา/อุปสรรคที่เกษตรกรประสบ คือ ขาดเงินทุนหมุนเวียน พันธุโคนมมีราคาแพง ยางในหัวรีดนมมี ราคาแพง เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ผสมเทียมไม่เพียงพอ และเวชกัณฑ์มีราคาแพง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9756
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83318.pdfเอกสารฉบับเต็บ5.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons