Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9759
Title: | การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพของนักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Career path planning of researchers in Thailand Institute of Scientific and Technological Research |
Authors: | ภาวิน ชินะโชติ นภัสวรรณ อุทัยธีรนันท์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การพัฒนาอาชีพ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ นักวิจัย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความก้าวหน้าในอาชีพ (2) ปัญหา และอุปสรรคของการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ และ (3) ข้อเสนอแนะการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพของนักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิจัย Band 2 ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 369 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของ ทาโรยามาเน่ ได้ 185 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ การทสอบความแปปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ผลการศึกษาพบว่า (1)ปัจจัยความก้าวหน้าในอาชีพของนักวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการพัฒนารายบุคคล ด้านการพัฒนาอาชีพ และด้านการพัฒนาองค์การ ตามลำดับ (2) ปัญหาและอุปสรรคของการวางแผนอาชีพของนักวิจัยฯ พบว่า หลักเกณฑ์การเสื่อนระดับเข้มงวดเกินไป ตำแหน่งที่สูงขึ้นไม่ได้มีแรงจูงใจในแง่ของค่าตอบแทน องค์การไม่มีช่องทางให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการ และปัจจุบันยังไม่สนับสนุนการวางแผ่นของนักวิจัย และ (3) ข้อเสนอแนะ คือ การเสื่อนระดับควรมีการประกาศให้ชัดเจน การเชื่อมโยงตำแหน่งที่สูงขึ้นกับคำตอบแทนที่มากขึ้นเพื่อจูงใจในการกระตือรือร้นอยากสอบเลื่อนระดับ เปิดโอกาสให้นักวิจัยมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ ส่งเสริมให้นักวิจัยได้ฝึกอบรมและพัฒนาเทียบเท่ากับองค์กรอื่นๆ ที่คล้ายกัน รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติการต้องมีความเหมาะสมกับความก้าวหน้าในงานของนักวิจัย ควรจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางอาชีพให้แก่นักวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักวิจัยได้มีโอกาสก้าวหน้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น และควรให้ความยุติธรรมและเสมอภาคในการปฏิบัติงานกับองค์การ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9759 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_154987.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License