กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9767
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับต่อการส่งเสริมการผลิตอ้อยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Some factors affecting the adoption of promotion of sugarcane production in Prachuap Khiri Khan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สุระวดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมนึก ศรีเที่ยงตรง, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อ้อย--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์--การผลิต.
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตทุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ผลิตอ้อย (2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสรมการผลิตข้อย (3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาการส่ง เสรมการผลิตอ้อย ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.85 ปี ส่วนใหญ่จบการ ศึกษาชั้นประถมศึกษา มีสมาขิกในครอบครัวเฉลี่ย 2.69 คน มีอาชีพทำไร่อ้อยควบคู่ไปกับปลูกพืชชนิดอื่น ร้อยละ 72.1 ได้ทำสัญญาขายอ้อยให้กับโรงงานมาเป็นเวลานาน 16 ปีขึ้นไป เป็นสมาชิกสมาคมกลุ่มชาวไร่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ - เพชรบุรี ทุกคน มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 206.07 ไร่ มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิของตัวเองทุกคน โดยเฉลี่ยคนละ 69.64อไร่ ที่ดินเช่าเพื่อทำการเกษตรเฉลี่ย 113.79 ไร่เป็นที่ไม่มีเอกสารสิทธิเฉลี่ย 162.2 ไร่ เป็นที่ราบเฉลี่ย 192 ไร่ เป็นที่ลาดชัน เฉลี่ย 74.09 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่สามารถให้นํ้าได้บางส่วน ใช้พื้นที่ สำหรับปลูกอ้อยเฉลี่ย 137.3 ไร่ มีค่าใช้จ่ายในการผลิตอ้อยเฉลี่ย 443,120.64 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ผู้เงินมา ทำการผลิตอ้อย ร้อยละ 97.7 และส่วนใหญ่ผู้เงินจากโรงงานนํ้าตาลปราณบุรี มีรายได้จากการจำหนายผลผลิตอ้อย เฉลี่ย 766,681.56 บาทต่อปี ใช้พันธุอ้อยที่ทางราชการส่งเสรีมทุกคน ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ ป้องกันและกำจัดศัตรูอ้อยที่3 ประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดตามลำดับ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ และวิทยุ ตามลำดับ มีความรู้สืกภูมิใจที่ได้เป็นสมาขิกสมาคม กลุ่มชาวไร่ ที่ตัวเองเป็นสมาขิกอยู่และสมาคมกลุ่มชาวไร่ให้การปกป้องผลประโยชน์แก่สมาขิก และโรงงานนํ้าตาล ปราณบุรีให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และได้รับการก่ายทอดความรู้จากโรงงานฯ เกษตรกรทุกคนมีปัญหาในการ ผลิตอ้อย ส่วนใหญ่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการระบาดของศัตรูอ้อยตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจับบางประการที่มีผลต่อการยอมรับต่อการส่งเสรีมการเกษตรในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์นั้นอายุของผู้ผลิตอ้อยไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการผลิตอ้อยอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9767
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83383.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons