Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9781
Title: การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการแก่กองทุนหมู่บ้านของเครือข่ายคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: The model development of learning process in management for Village Community Funds Sub-District Network in Khon Khean province
Authors: ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญยัง หมั่นดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติ อุทัยพันธุ์, 2493-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: เครือข่ายคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล จังหวัดขอนแก่น
กองทุนหมู่บ้าน--การบริหาร.--ไทย--ขอนแก่น
การเรียนรู้.
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยแวดล้อมและศักยภาพที่แท้จริงของเครือข่าย คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล ตลอดจนรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมในเรื่องการบริหารจัด การกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบทบาทของเครือข่ายคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล จังหวัดขอนแก่น โดย ประยุกต์ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพและระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณมาดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย การศึกษา เอกสาร การตรวจสอบและวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยทราบว่า 1. ปัจจัยแวดล้อมเครือข่ายคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลที่สำคัญคือ 1.1 ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำมีจิตสาธารณะ อุดมการณ์ เสียสละ มีจิตใจเป็นธรรม เข้าใจ ปัญหาวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กรและได้รับการคัดเลือกโดยวิธีการโปร่งใส สมาชิกมีจิตสำนึกตระหนักถึง คักยภาพในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบบการบริหารที่เป็นอิสระมีความเอื้ออาทรและมีความยืดหยุ่นสูง โครงสร้างองค์กรเป็นแบบผสม องค์ประกอบของคณะกรรมการควรมีผู้แทนกองทุนหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้าน 1.2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ รัฐมีนโยบายสนับสนนการจัดตั้งเครือข่ายที่ชัดเจน การสนับสนุนของ ของรัฐเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะประสบการณ์ สมาชิกเครือข่ายมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ และความสามัคคีดี การรับรองสถานภาพและการกระจายอำนาจเครือข่ายที่ชัดเจน ระบบลื่อสารที่สามารถ ทำให้การติดต่อลื่อสารได้สะดวก 2. วิธีการและรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของเครือข่ายฯ 2.1 การสร้างกระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านโดยบทบาทของเครือข่าย มีทั้งวิธีการเรียนรู้ที่ดำเนินการตามศักยภาพที่เป็นจริงของเครือข่าย (โดยวิธีกลุ่ม) และวิธีการเรียนรู้ร่วมกับสถาบัน การศึกษา เนื่องด้วยศักยภาพและขีดความสามารถของเครือข่ายฯ น้อย 2.2 วิธีการเรียนรู้โดยวิธีกลุ่ม รูปแบบที่เหมาะสม ได้แก่ การเยี่ยมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การประชุมแบบทางการและไม่เป็นทางการ การจัดเวทีเครือข่ายกองทุน 2.3 วิธีการเรียนรู้ร่วมกับสถาบันการศึกษา รูปแบบที่เหมาะสม ได้แก่ การฟิกอบรมระยะสัน การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 254
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9781
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83593.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons