กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9786
ชื่อเรื่อง: ผลของการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อผู้มีเงินได้ในเขตจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Result of the restructuring, the rate of personal income tax the taxpayer is in the Pathumthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขุมาลย์ ชํานิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรณพ นิลพันธุ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตรา ภาษีที่มีต่อการใช้จ่ายของประชาชน (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้จ่ายของผู้มีเงินได้ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการสํารวจคือผู้มีเงินได้ในเขต จังหวัดปทุมธานีจํานวน 329,954 คน โดยใช้วิธีกำหนดขนาดตัวอย่าง จํานวน 318 คนเครื่องมือที่ใช้ ในรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ผู้มีเงินได้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุมากกว่า 40 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า รายได้น้อยกว่า 20,000 บาท เป็นพนักงานบริษัทเอกชน และทราบถึงพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ (1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราภาษีที่มีผลต่อการใช้จ่ายของประชาชน พบว่า ผู้มีเงินได้ ส่วนใหญ่มีรายได้มาจากเงินเดือน ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเก็บออมโดยการฝากธนาคาร เพื่อใช้จ่ายยามเกษียนมีการลงทุนโดยการซื้อทองคํา อสังหาริมทรัพย์ และบริจาคการกุศลสาธารณะ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้จ่ายของผู้มีเงินได้จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า 1) เพศ และสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันใช้จ่ายเงินที่แตกต่างกันในด้านการบริโภค 2) อายุ การศึกษา ที่แตกต่างกัน ใช้จ่ายเงินแตกต่างกันในด้านการบริโภคและสิ่งจูงใจที่ทําให้เกิดการเก็บออม 3) รายได้ที่แตกต่างกัน ใช้จ่ายเงิน แตกต่างกันในด้านการบริโภคและการลงทุน 4) อาชีพที่แตกต่างกัน ใช้จ่ายเงินแตกต่างกันในด้านการบริโภคและการบริจาคเพื่อการกุศล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9786
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149986.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons