Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9791
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชญาน์นันท์ เจริญพันธ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-28T07:21:43Z-
dc.date.available2023-09-28T07:21:43Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9791-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ และ (3) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของ ข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผสมวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษทุกคน จำนวน 60 คน แบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหาร และข้าราชการระดับหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 6 คน ใช้การ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ 2) ข้าราชการที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 54 คน ใช้แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงาน ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสำเร็จใน งาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงาน โอกาสได้รับผิดชอบ และโอกาสที่จะเติบโตและก้าวหน้าในงาน ผลการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ นโยบาย การบริหารองค์การ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เงินเดือน และค่าตอบแทน การปกครองและการบังคับบัญชา สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน สถานภาพวิชาชีพ ความ มั่นคงในงาน และปัจจัยในชีวิตส่วนบุคคล ผลการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน และ (3) ปัญหา ที่พบ ได้แก่ การสื่อสารและการถ่ายทอดตัวชี้วัดไปสู่ผู้ปฏิบัติงานยังไม่ชัดเจน การติดตามประเมินผลการ ปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดยังไม่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ได้แก่ ผู้บริหารควรมีนโยบายให้แต่ละกลุ่มงานมีการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีระบบ ติดตามผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ การมุ่งสู่ องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมในการปฏิบัติงานของข้าราชการ และการจัดทำแผนพัฒนาตนเองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสมรรถนะth_TH
dc.subjectข้าราชการ--การทำงานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษth_TH
dc.title.alternativeThe core competency of officials of Sisaket Local Administration Provincial Officeth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to study: (1) level of core competency; (2) factors relating to the core competency; and (3) problems and approaches to develop the core competency of officials of Sisaket Local Administration Provincial Office. This study was mixed method both quantitative and qualitative research. Population was officials of Sisaket Local Administration Provincial Office totally 60 officials which divided into 2 group: 1) executives and heads of section totally 6 officials for in-depth interviewing; 2) operational officials totally 54 officials for primary data collecting. Research tools were questionnaire and in-depth interview form. Statistical analysis applied descriptive statistics namely percentage, mean, frequency, standard deviation. The results revealed that: (1) an overview image of competency level was at the highest level; (2) factors relating the core competency of officials of Sisaket Local Administration Provincial Office comprised of motivation factors such as; work achievement, recognition, work characteristics, chance of responsibility, career development and factors relating to work implementation such as; organizational policy, administration, interpersonal relationship, salary and payment, hierarchy, work environment, status, work stability and personal factors. Both are at high level; and (3) the problems were unclear communication regarding key performance indicators, insubstantial and unfair work assessment. Approaches to develop the core competency were that the executives should identify clear work performance indicators and measurement, monitor work assessment regularly and systematically, create learning organization and high performance organization condition, change of organization attitudes, value and culture as well as formulate individual development planen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150233.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons