กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9791
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The core competency of officials of Sisaket Local Administration Provincial Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชญาน์นันท์ เจริญพันธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมรรถนะ
ข้าราชการ--การทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ และ (3) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของ ข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผสมวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษทุกคน จำนวน 60 คน แบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหาร และข้าราชการระดับหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 6 คน ใช้การ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ 2) ข้าราชการที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 54 คน ใช้แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะหลักของข้าราชการสำนักงาน ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสำเร็จใน งาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงาน โอกาสได้รับผิดชอบ และโอกาสที่จะเติบโตและก้าวหน้าในงาน ผลการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ นโยบาย การบริหารองค์การ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เงินเดือน และค่าตอบแทน การปกครองและการบังคับบัญชา สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน สถานภาพวิชาชีพ ความ มั่นคงในงาน และปัจจัยในชีวิตส่วนบุคคล ผลการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน และ (3) ปัญหา ที่พบ ได้แก่ การสื่อสารและการถ่ายทอดตัวชี้วัดไปสู่ผู้ปฏิบัติงานยังไม่ชัดเจน การติดตามประเมินผลการ ปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดยังไม่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ได้แก่ ผู้บริหารควรมีนโยบายให้แต่ละกลุ่มงานมีการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีระบบ ติดตามผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ การมุ่งสู่ องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมในการปฏิบัติงานของข้าราชการ และการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9791
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150233.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons