Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9798
Title: | การประเมินผลความพึงพอใจหลังการฝึกของเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการการจัดการผลิตข้าวตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2546 |
Other Titles: | An evaluation of rice farmers satisfaction after rice production training at HM the King's Farmer Field School in Suphan Buri province, 2003 |
Authors: | ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา หลักชัย มีนะกนิษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา ศักดา จิรไพโรจน์, 2495- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ โครงการการจัดการผลิตข้าวตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ เกษตรกร--ไทย--สุพรรณบุรี--การฝึกอบรม. เกษตรกร--การฝึกอบรม--การประเมิน ชาวนา--ไทย--สุพรรณบุรี |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การฝึกอบรมเกษตรกรตามโครงการการจัดการผลิตข้าวตามแนวทางโรงเรียนเกษตกรในพระราชดำริใน เขตจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2546 เป็นแนวทางใหม่ในการถ่ายทอลความสู่เกษตรกรซึ่งแต่เดิมที่ยึดเข้าหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลาง เปลี่ยนมาเป็นเกษตรกรเป็นจุดศูนย์กลาง โดยการฝึกอบรมให้เกษตรกรรส่วนร่วมเริ่มต้นตั้งแต่ การวางแผนศึกษา วิเคราะห์ ทดลอง ตัดสินใช้ และปฏิบัติร่วมกัน ตลอดฤดูปลูก โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก การวิจัยครั้งนี้มีวัตกประสงค์ เพื่อ (1) เพึ่อศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ของเกษตรกรที่เช้ารับการฝึกอบรม โครงการการจัดการผลิตข้าวตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2546 (2) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจในความรู้ที่เกษตรกรได้รับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์และก่ายทอดสู่เกษตรกรเพื่อนบ้าน (3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและข้อเสนอแนะของการดำเนินงานฝึกอบรมโครงการการจัดการผลิตข้าวตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร ในพระราชดำริในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2546 ผลการวิจัย (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการการจัดการผลิตข้าว ตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2546 พบว่า เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชายอายุ ระหว่าง 41-50 ปี การศึกษาต่ำกว่า ป.6 มีสมาชิกครัวเรือนมากกว่า 4 คน และเป็นแรงงานในครัวเรือนตํ่ากว่า 3 คนมีพื้นที่ ทำนามากกว่า 20 ใร่ส่วนมากเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีต้นทุนในการผลิต 1100 บาท/ใร่ ขึ้นไปและได้ผลผลิต 801-1000 บาท /ไร่ (2) ระดับความพึงพอใจ ความรู้ในการฝึกอบรม การนำไปใช้ประโยชน์และถ่ายทอดความรู้สู่เพือนบ้าน พบว่าเกษตรกรพึงพอใจในความรู้ที่ได้รับ ระดับมาก (3) ปัญหาที่เกษตรกรระบุในการดำเนินการถ่ายทอดความรู้ โครงการ การจัดการผลิตข้าวตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2546 เรียงตามลำดับได้แก่ เกษตรกรมีภารกิจหลายด้าน วิทยากรขาดการประเมินผล วิทยากรมาสายไม่ตรงเวลา เวลาในการฝึกอบรมน้อยไป เกษตรกร สายตาและความจำไม่ดี และอุปกรณ์การสอนน้อยเกินไป (4) ข้อเสนอแนะที่เกษตรกรระบุ เรียงลำดับได้แก่ สมควรมีการฝึก อบรมอย่างต่อเนื่องต่อไป ควรมีวิทยากรสอนเฉพาะเรื่อง ควรมีการประเมินผลในการฝึกอบรม ควรมีการพาไปดูงานนอก สถานที่ และควรให้วิทยากรรับงานฝึกอบรมเพียงด้านเดียวการพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัยพบว่าอายุของเกษตรกรต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันตํ่าในทางบวก ได้แก่อายุตํ่ากว่า 31 ปี และ31-40 ปีและมี ความสัมพันธ์กันพอสมควรในทางลบได้แก่อายุสูงกว่า 51 ปี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9798 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License